ความรู้ภาษี

ทั้งหมด

บัญชี

ภาษี

ธุรกิจ

การใช้งานโปรแกรม

ข่าวสาร

31 ม.ค. 2024

จักรพงษ์

9 min

ร้านค้าออนไลน์ต้องรู้ แพลตฟอร์มออนไลน์ต้องส่งข้อมูลรายได้ให้กรมสรรพากร

ประเด็นสำคัญ  เรียกได้ว่าเหล่าร้านค้าออนไลน์ต้องเตรียมตัวอย่างหนักเลยทีเดียว เมื่อกรมสรรพากรได้ออกกฎหมายบังคับให้กลุ่มแพลตฟอร์มออนไลน์ทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น Shopee, Lazada, Line, Grab และอื่นๆ ต้องนำส่งข้อมูลรายได้ บัญชีธนาคาร เลขบัตรประชาชน ทั้งหมดของร้านค้าที่ขายสินค้าหรือให้บริการผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์นั้นให้แก่กรมสรรพากรทุกปี มีผลบังคับใช้เริ่มตั้งแต่ 1 มกราคม 2567 รายละเอียดเชิงลึกมีอะไรบ้าง เรามาดูกันต่อครับ ทำไมกรมสรรพากรต้องบังคับแพลตฟอร์มออนไลน์ให้ส่งรายได้ของร้านค้าออนไลน์? ก่อนหน้านี้สรรพากรเคยออกกฎหมาย E-payment ที่บังคับให้เหล่าธนาคาร หรือผู้ให้บริการกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Wallet) ต้องนำส่งรายการบัญชีของผู้ฝากเงินที่เข้าเงื่อนไขที่มีเงินเข้า 3,000 ครั้ง หรือเงินเข้า 400 ครั้งและมียอดเกิน 2 ล้านบาทให้แก่กรมสรรพากร เพื่อตรวจจับบุคคลที่หลีกเลี่ยงภาษีหรือส่งภาษีไม่ครบ ส่วนตัวเชื่อว่าวิธีการดังกล่าว บางครั้งก็พิสูจน์ได้ยากว่าเงินรับมาจากรายได้หรือเงินโอนทั่วไป และยังมีช่องโหว่ในการหลบหลีกเพื่อไม่เข้าเงื่อนไขดังกล่าว กรมสรรพากรจึงหาแนวทางใหม่เพิ่มเติมที่ตรงประเด็นมากขึ้น โดยเล็งเป้าไปยังกลุ่มผู้ค้าขายออนไลน์ที่ยังมีแนวโน้มว่าส่งภาษีไม่ครบหรือไม่ถูกต้อง  แพลตฟอร์มออนไลน์ที่ต้องส่งข้อมูลรายได้ให้กรมสรรพากร รายละเอียดต่างๆ ของกฎหมายฉบับนี้ถูกกำหนดอยู่ที่ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ เรื่อง กำหนดให้อิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์มมีบัญชีพิเศษ โดยแพลตฟอร์มออนไลน์ที่ต้องนำส่งข้อมูลร้านค้าออนไลน์ต้องเข้าเงื่อนไขทั้ง 2 ข้อ ได้แก่ 1. จดทะเบียนจัดตั้งในประเทศไทย และ 2. มีรายได้เกิน 1 พันล้านบาทต่อปี PEAK ขอเล่า : ร้านค้าออนไลน์จะต้องถูกนำส่งข้อมูลอะไรบ้าง? จากเอกสารแนบที่กรมสรรพากรกำหนดรายละเอียดข้อมูลที่ต้องนำส่ง ผมขอสรุปเฉพาะข้อมูลสำคัญของร้านค้าออนไลน์ที่ต้องถูกนำส่งไว้ ดังนี้ครับ 1. เลขประจำตัวประชาชน หรือเลขทะเบียนนิติบุคคล 2. ชื่อผู้ประกอบการ หรือชื่อนิติบุคคล 3. จำนวนรายได้ที่ใช้คิดฐานคำนวณค่านายหน้าและค่าธรรมเนียมการชำระเงิน (พูดง่ายๆ คือ รายได้ทั้งหมดของร้านค้าแต่ละร้าน) 4. ชื่อธนาคารและเลขที่บัญชีธนาคารที่ใช้รับเงินจากแพลตฟอร์มออนไลน์ นั่นแปลว่ากรมสรรพากรจะรู้รายได้ของร้านค้าอย่างละเอียด ทุกบาท ทุกสตางค์ และรู้ว่าร้านค้าชื่ออะไร และใช้บัญชีอะไรในการรับรายได้อีกด้วย พออ่านมาถึงตรงนี้ผู้ประกอบการคงเริ่มขนลุกกันแล้วใช่ไหมละคร๊าบบ ข้อมูลจะถูกส่งให้กรมสรรพากรเมื่อไหร่? กฎหมายฉบับนี้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 เป็นต้นไป นั่นหมายความว่าข้อมูลรายได้ที่ร้านค้าออนไลน์ขายสินค้าหรือให้บริการในแพลตฟอร์มออนไลน์จะเป็นรายได้ตั้งแต่ 1 มกราคม 2567 เป็นต้นไป จนถึงสิ้นรอบบัญชีของแพลตฟอร์มออนไลน์ โดยแพลตฟอร์มออนไลน์ต้องนำส่งข้อมูลดังกล่าวภายใน 150 วันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ตัวอย่าง เช่น แพลตฟอร์มออนไลน์ S จะต้องนำส่งข้อมูลรายได้ของร้านค้าทุกร้านที่ขายบนแพลตฟอร์ม S ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 – 31 ธันวาคม 2567 ให้แก่กรมสรรพากรภายในวันที่ 29 พฤษภาคม 2568 (150 วัน) PEAK ขอเล่า : กฎหมายฉบับนี้จะส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการอย่างไร? เชื่อว่าคำถามนี้หลายคนคงมีคำถามในใจกันแล้ว แต่คำตอบนั้นก็อาจจะไม่ได้เหมือนกัน ส่วนตัวผมคิดว่าเป็นทั้งผลดีและผลเสีย ขึ้นอยู่กับว่าเรากำลังมองในฝั่งไหน เช่น ในมุมของคนที่เสียภาษีอย่างถูกต้องมาโดยตลอด เขาจะเชื่อว่ากฎหมายนี้จะส่งเสริมความเป็นธรรมในการค้าขายมากขึ้น เพราะเดิมคู่แข่งไม่เสียภาษีอย่างถูกต้อง ทำให้คู่แข่งขายสินค้าได้ดีกว่าเพราะมีต้นทุนที่ต่ำกว่า และเกิดกระแสเงินสดที่มากกว่า แต่ในมุมของคนที่เสียภาษีไม่ครบถ้วนหรือหลีกเลี่ยง กฎหมายตัวนี้จะเข้ามาปิดช่องโหว่แทบทุกด้านที่เคยมีอยู่ ทำให้การหลีกเลี่ยงยากมากขึ้น  สุดท้ายนี้กฎหมายฉบับนี้จะบังคับให้ทุกคนทำบัญชี ภาษีได้ถูกต้องมากขึ้น ทางผู้ประกอบการต้องเตรียมพร้อม โดยเริ่มจากเก็บเอกสารให้ครบถ้วน ถูกต้อง หรือหาสำนักงานบัญชีที่น่าเชื่อถือมาช่วยจัดการ รวมถึงการหาโปรแกรมจัดการด้านบัญชีที่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลจากแพลตฟอร์มออนไลน์มาลงบันทึกบัญชีได้แบบเรียลไทม์  ที่ PEAK เรามีพันธมิตรสำนักงานบัญชีมากกว่า 1,200 แห่งทั่วประเทศ พร้อมช่วยดูแลคุณ สนใจ คลิก หรือสนใจโปรแกรมบัญชีออนไลน์ PEAK เพื่อเชื่อมต่อข้อมูลจากแพลตฟอร์ม Shopee Lazada TikTok ทดลองใช้ฟรี 30 วัน คลิก 

24 ม.ค. 2024

PEAK Account

12 min

เช็กลิสต์มาตรการรัฐ สร้างการเติบโตของธุรกิจในยุคดิจิทัล

เมื่อโลกเปลี่ยน เทคโนโลยีเปลี่ยน การดำเนินธุรกิจในปัจจุบันก็ต้องมีการปรับตัวให้รองรับกับความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว เช่น เรื่องช่องทางการขาย การชำระเงิน การจัดการบัญชี ภาษีต่างๆ ก็มีการนำเครื่องมือต่างๆ เข้ามาช่วยสร้างการทำงานในรูปแบบดิจิทัลมากขึ้น โดยรัฐบาลเองมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาทางเศรษฐกิจด้านดิจิทัลอย่างเป็นระบบ ดังตัวอย่างของมาตรการภาครัฐต่อไปนี้ที่จะช่วยส่งเสริมการดำเนินธุรกิจในยุคดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ e-Payment ชำระเงิน สะดวก รวดเร็ว ทุกที่ ทุกเวลา ทุกธุรกิจ    ระบบการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์มาตรการภาครัฐที่พัฒนาขึ้นเพื่อให้มีระบบรองรับการชำระเงินทางออนไลน์ที่ได้มาตรฐาน สอดคล้องกับการใช้งานเทคโนโลยีที่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์จะช่วยลดความซับซ้อนในกระบวนการการเงินและทำให้เกิดประสิทธิภาพในการทำธุรกรรม โดยเฉพาะในส่วนของผู้ประกอบการที่นำระบบ e-Payment มาใช้ในธุรกิจ นอกจากจะเป็นการเพิ่มความสะดวกสบายแก่ลูกค้าแล้ว ยังเสริมสร้างประสิทธิภาพในการบริหารจัดการการเงินของธุรกิจได้เป็นอย่างดีอีกด้วย  สำหรับเงื่อนไขของกฎหมายภาษี  e-Payment เป็นสิ่งที่เจ้าของกิจการ ร้านค้าต่างๆ ควรศึกษารายละเอียดอย่างแม่นยำ เพื่อการปฏิบัติทางกฎหมายที่ถูกต้อง ได้แก่ พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 48) พ.ศ. 2562 ที่มีสาระสำคัญคือการกำหนดให้สถาบันการเงิน และผู้ให้บริการทางการเงินอิเล็กทรอนิกส์ e-wallet ต้องรายงานข้อมูลผู้มีบัญชีธุรกรรมเฉพาะให้กรมสรรพากร ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา นิติบุคคล โดยมีเงื่อนไขดังนี้       e-Tax Invoice ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ตอบโจทย์ธุรกิจในยุคดิจิทัล e-Tax Invoice หรือใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ เป็นมาตรการภาครัฐในการออกใบกํากับภาษีในรูปแบบใหม่ที่กรมสรรพากรได้พัฒนาขึ้นมาใช้แทนการออกใบกำกับภาษีแบบกระดาษ โดยจะปรับเปลี่ยนข้อมูลทั้งหมดเป็นในรูปแบบของอิเล็กทรอนิกส์ผ่านทางระบบออนไลน์ ซึ่งจะช่วยให้เจ้าของธุรกิจสามารถส่งข้อมูลใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ถึงกรมสรรพากรได้อย่างสะดวกรวดเร็วผ่านช่องทางอีเมล หรือเว็บไซต์กรมสรรพากรได้ในทันท่วงที ไม่ต้องจัดเตรียม และรวบรวมใบกํากับภาษีแบบกระดาษอีกต่อไป นอกจากนั้นการจัดทำใบกำกับภาษีอยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ยังมีประโยชน์ต่อเจ้าของธุรกิจอีกหลายประการ ได้แก่ การลดต้นทุนแฝงอย่างเช่น ค่ากระดาษ ค่าหมึกพิมพ์ ค่าจัดส่ง ค่าจัดเก็บใบกำกับภาษี การป้องกันเอกสารสูญหายหรือได้รับความเสียหาย นอกจากนั้น e-Tax Invoice ยังรองรับสิทธิประโยชน์จากทางภาครัฐ อย่างโครงการ การช้อปดีมีคืนในปี 2566 และล่าสุดกับโครงการ Easy E-Receipt เป็นต้น โดย e-Tax Invoice นั้นแบ่งออกได้เป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ 1. e-Tax Invoice by Time Stamp เป็นระบบการจัดทำใบกำกับภาษีโดยการประทับรับรองเวลา (Time Stamp) เกิดขึ้นจากความร่วมมือของกรมสรรพากรกับสำนักงานพัฒนาธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (สรอ.) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่มีรายได้ ไม่เกิน 30 ล้านบาทต่อปี หรือมีการออกใบกำกับภาษีจำนวนไม่มาก ได้ตระหนักถึงความสะดวกของการออกและใช้งานใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนสำหรับผู้ประกอบการที่จะพัฒนาไปสู่ระบบการออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์อย่างสมบูรณ์แบบในอนาคต  2. e-Tax Invoice & e-Receipt เป็นระบบที่กรมสรรพากรพัฒนาขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ให้ผู้ประกอบการจัดทำใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้ และใบเสร็จรับเงินในรููปแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่มีการลงลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) ส่งมอบให้ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการด้วยช่องทางทางอิเล็กทรอนิกส์ตามที่ตกลงกัน รวมถึงการนำส่งข้อมูลให้กรมสรรพากรผ่านช่องทางที่กรมสรรพากรกำหนดด้วย Easy E-Receipt  โอกาสสำหรับผู้ประกอบการในยุคดิจิทัล Easy E-Receipt คือ โครงการลดหย่อนภาษีประจำปี 2567 ที่กรมสรรพากรกำหนดให้ผู้มีเงินได้บุคคลธรรมดาสามารถนำใบกำกับภาษีในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือที่เรียกกันว่า e-Tax Invoice และ e-Receipt ที่ได้รับจากการซื้อสินค้าและบริการจากร้านค้าที่จดทะเบียนในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อใช้ลดหย่อนภาษีในปีภาษี 2567 โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 15 กุมภาพันธ์ 2567 โดยมีเงื่อนไขการใช้จ่ายดังต่อไปนี้ 1. ต้องเป็นผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 2. ซื้อสินค้าและบริการจากผู้ประกอบการจดทะเบียน VAT ที่ออกใบกำกับภาษีเต็มรูปในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) ผ่านระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt ของกรมสรรพากรเท่านั้น 3. ลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ตามจริง จำนวนไม่เกิน 50,000 บาท นับเป็นโอกาสดีอย่างยิ่งสำหรับผู้ประกอบการจดทะเบียนในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มที่สามารถออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ที่จะสร้างการขายสินค้าและบริการตามที่โครงการกำหนด 2 มาตรการภาษี  โอกาสดีๆ สำหรับผู้ประกอบการ เป็นการขยายเวลาต่อเนื่องสำหรับมาตรการภาครัฐที่กำหนดขึ้นเพื่อส่งเสริมการลงทุนในระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์และส่งเสริมการใช้ระบบภาษีหัก ณ ที่จ่ายอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการลงทุนในระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สามารถหักรายจ่ายการลงทุนในระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt และระบบ e-Withholding Tax รวมถึงหักรายจ่ายค่าบริการระบบดังกล่าวได้ 2 เท่าของรายจ่ายที่จ่ายจริง ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 – 31 ธันวาคม 2568  มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการใช้ระบบภาษีหัก ณ ที่จ่ายอิเล็กทรอนิกส์ (e-Withholding Tax) สำหรับการจ่ายเงินได้พึงประเมินผ่านระบบ e-Withholding Tax ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 -31 ธันวาคม 2568” จะมีการลดอัตราภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย เหลืออัตราร้อยละ 1 ทั้ง 2 มาตรการดังกล่าวจะเป็นการช่วยเหลือผู้ประกอบการในการลดต้นทุนในการจัดทำและการจัดเก็บเอกสาร รวมทั้งยังช่วยให้ผู้ประกอบการมีกระแสเงินสดเพิ่มขึ้นในช่วงระยะเวลาดำเนินมาตรการลดอัตราภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายได้อีกด้วย PromptBiz  ตอบโจทย์ธุรกิจดิจิทัล สร้างระบบการทำงานแบบมืออาชีพ PromptBiz คือ โครงสร้างพื้นฐานการชำระเงินกลางสำหรับภาคธุรกิจ ทำให้เกิดการทำธุรกิจแบบดิจิทัลที่สามารถข้ามธนาคารได้อย่างครบวงจร โดยจะมีการเชื่อมโยงข้อมูลการค้าและการชำระเงิน ตั้งแต่ข้อมูลใบแจ้งหนี้ การวางบิล การชำระเงิน จนถึงการออกใบเสร็จ โดย PromptBiz จะมีบริการ 2 ด้านสำคัญ ได้แก่ บริการด้านการค้าและการชำระเงิน และบริการด้านสินเชื่อ PromptBiz จะเปลี่ยนเอกสารทางการค้าจากรูปแบบกระดาษมาเป็นเอกสารดิจิทัลในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การวางบิล รับวางบิล ตรวจสอบความถูกต้อง และชำระเงินผ่านแพลตฟอร์ม พร้อมจัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ ครอบคลุมไปถึงการทำรายการหักและนำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่ายอัตโนมัติ  ขณะเดียวกันระบบ PromptBiz จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำธุรกิจ พัฒนากระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น  ช่วยเพิ่มโอกาสการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของ SMEs ได้เป็นอย่างดี

23 ม.ค. 2024

PEAK Account

9 min

มาตรการ  Easy E-Receipt 2567 สิทธิลดหย่อนภาษีสำหรับลูกค้า โอกาสสำหรับผู้ประกอบการในยุคดิจิทัล

กลับมาอีกครั้ง สำหรับมาตรการดีๆ จากทางภาครัฐที่นอกจากจะช่วยในเรื่องของการลดหย่อนภาษีแล้ว ยังเป็นการสนับสนุนผู้ประกอบการที่อยู่ในระบบภาษีให้ใช้ระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์อีกด้วย กับโครงการที่มีชื่อว่า Easy E-Receipt มาตรการนี้มีรายละเอียดเงื่อนไขอย่างไร บทความนี้มีคำตอบ Easy E-Receipt คืออะไร Easy e-Receipt คือ โครงการลดหย่อนภาษีประจำปี 2567 ที่กรมสรรพากรกำหนดให้ผู้มีเงินได้บุคคลธรรมดาสามารถนำใบกำกับภาษีในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือที่เรียกกันว่า e-Tax Invoice และ e-Receipt ที่ได้รับจากการซื้อสินค้าและบริการจากร้านค้าที่จดทะเบียนในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อใช้ลดหย่อนภาษีในปีภาษี 2567 โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 15 กุมภาพันธ์ 2567 โดยมีเงื่อนไขการใช้จ่ายดังต่อไปนี้ 1. ต้องเป็นผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 2. ซื้อสินค้าและบริการจากผู้ประกอบการจดทะเบียน VAT ที่ออกใบกำกับภาษีเต็มรูปในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) ผ่านระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt ของกรมสรรพากรเท่านั้น 3. ลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ตามจริง จำนวนไม่เกิน 50,000 บาท e-Tax Invoice คืออะไร? e-Tax Invoice หรือใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งนำมาใช้ทดแทนใบกำกับภาษีแบบกระดาษ กล่าวง่ายๆ คือ การเปลี่ยนจากรูปแบบกระดาษให้อยู่ในรูปแบบออนไลน์แทนนั่นเอง แม้จะแตกต่างกันในเรื่องรูปร่างเอกสารที่เปลี่ยนไป แต่ยังคงใช้สิทธิ์ทางภาษีได้เช่นเดียวกับรูปแบบกระดาษ โดย e-Tax Invoice จะต้องจัดทำข้อความขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และลงลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) หรือได้มีการประทับรับรองเวลา (Time Stamp) เพื่อนำส่งให้กับผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ ตลอดจนนำส่งข้อมูลให้กับกรมสรรพากรผ่านช่องทางออนไลน์ สำหรับใครที่สนใจอยากรู้รายละเอียดของระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) สามารถติดตามอ่านได้ที่บทความ เรื่องต้องรู้ เกี่ยวกับ e-Tax e-Tax Invoice & e-Receipt คืออะไร? e-Tax Invoice & e-Receipt เป็นการจัดทำใบกำกับภาษี รวมถึงใบกำกับภาษีอย่างย่อ ใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้ และใบรับที่ได้มีการจัดทำข้อความขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ต้องมีการลงลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) ส่งมอบให้ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ และนำส่งข้อมูลให้กรมสรรพากร สำหรับใครที่สนใจอยากรู้รายละเอียดของ e-Tax Invoice & e-Receipt  สามารถติดตามอ่านได้ที่บทความ e-Tax Invoice & e-Receipt คืออะไร สินค้าที่สามารถลดหย่อนภาษีจากโครงการ Easy E-Receipt ได้ ในการซื้อสินค้าเพื่อนำมาใช้ลดหย่อนภาษีในโครงการ Easy E-Receipt นั้น ต้องเลือกซื้อให้ถูกต้องตามข้อกำหนดของโครงการ เนื่องจากมีสินค้าบางประเภทที่ไม่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ ซึ่งสินค้าที่สามารถนำมาใช้ลดหย่อนภาษีได้นั้น จะมีลักษณะดังต่อไปนี้ ส่วนสินค้าที่ไม่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีจากโครงการ Easy-E-Receipt ได้ ประกอบด้วย ผู้ที่สามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีจากโครงการ Easy E-Receipt ผู้ที่สามารถใช้สิทธิ์ซื้อสินค้านำมาลดหย่อนภาษีจากโครงการ Easy e-Receipt นั้นต้องผู้มีเงินได้ ที่เป็นบุคคลธรรมดาเท่านั้น โดยการลดหย่อนจะเป็นการลดหย่อนจากจำนวนเงินได้พึงประเมินสุทธิ ที่ต้องนำไปคำนวณร่วมกับฐานภาษีแบบขั้นบันได ดังตัวอย่างอัตราลดหย่อนสูงสุดของรายได้ต่อไปนี้ การตรวจสอบร้านค้าที่สามารถออก e-Tax Invoice & e-Receipt ได้ ก่อนที่เราจะเลือกซื้อสินค้าและบริการ เราสามารถตรวจสอบรายชื่อผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่สามารถออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ได้โดยการนำเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรไปค้นหาผ่านระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt ของกรมสรรพากร nbsp; ก็จะได้ข้อมูลร้านค้าตามต้องการ โครงการ Easy E-Receipt ไม่เพียงช่วยให้ผู้สินค้าและบริการมาใช้สิทธิ์ในการลดหย่อนทางภาษีได้เท่านั้น หากแต่ยังสร้างโอกาสทางการขายให้กับผู้ประกอบการ ร้านค้าต่างๆ อีกด้วย เพียงจดทะเบียนในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม และสามารถออกใบกำกับภาษีเต็มรูปในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านระบบ e-Tax Invoice และ e-Receipt ของกรมสรรพากรได้ ก็จะสามารถเข้าร่วมโครงการ  Easy E-Receip นี้ PEAK ช่วยผู้ประกอบการให้สามารถออกเอกสารใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) ได้ทั้ง 2 รูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น e-Tax Invoice by Time Stamp หรือ e-Tax Invoice & e-Receipt เพียงแค่คลิกเชื่อมต่อกับ PEAK หลังจากนี้คุณก็สามารถออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ได้ง่ายๆ ถ้าอยากรู้ว่าง่ายขนาดไหน แนะนำให้ลองดูวิดีโอสั้นๆ การเชื่อมต่อระบบและวิธีการส่งใบกำกับใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) ได้เลย

18 ม.ค. 2024

จักรพงษ์

11 min

e-Tax Invoice & e-Receipt คืออะไร

หลังจากที่เราได้ทำความรู้จักกับ e-Tax Invoice และ e-Tax Invoice by Time Stamp จากบทความ เรื่องต้องรู้ เกี่ยวกับ e-Tax Invoice และ e-Tax Invoice by Time Stamp คืออะไร กันมาแล้ว ในบทความนี้เราจะมาทำความรู้จักกับ e-Tax Invoice อีกหนึ่งประเภทว่าคืออะไร และธุรกิจประเภทใดที่ควรเข้าร่วมโครงการ e-Tax Invoice ประเภทนี้ สำหรับคนที่เข้ามาอ่านบทความนี้ต่อ ผมเชื่อว่าธุรกิจของคุณมีความพร้อมทางด้านระบบงาน มีการออกใบกำกับภาษีหรือใบเสร็จรับเงินจำนวนมาก และพร้อมเปลี่ยนธุรกิจเข้าสู่โลกดิจิทัล นับจากนี้เรามาทำความรู้จักโครงการ e-Tax Invoice & e-Receipt ในเชิงลึกกันต่อเลยครับ e-Tax Invoice & e-Receipt คืออะไร? โครงการ e-Tax Invoice & e-Receipt เป็นการจัดทำใบกำกับภาษี รวมถึงใบกำกับภาษีอย่างย่อ  ใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้ และใบรับที่ได้มีการจัดทำข้อความขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ที่ต้องมีการลงลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) ส่งมอบให้ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ และมีหน้าที่นำส่งข้อมูลให้กรมสรรพากร 5 เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่ e-Tax Invoice & e-Receipt ออกได้ ไม่เพียงแต่ใบกำกับภาษีเท่านั้นที่สามารถเปลี่ยนมาเป็นรูปแบบออนไลน์ได้ กรมสรรพากรยังได้อนุมัติเอกสารอื่นๆ ด้วยเช่นกัน ได้แก่ 1. ใบกำกับภาษี (เต็มรูป) ตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร 2. ใบกำกับภาษี (อย่างย่อ) ตามมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร 3. ใบเพิ่มหนี้ (Debit Note) ตามมาตรา 86/9 แห่งประมวลรัษฎากร 4. ใบลดหนี้ (Credit Note) ตามมาตรา 86/10 แห่งประมวลรัษฎากร 5. ใบรับ (ใบเสร็จรับเงิน) ตามมาตรา 105 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร คุณสมบัติของผู้ประกอบการที่ขอจัดทำ e-Tax Invoice & e-Receipt มีดังต่อไปนี้ 1. เป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม 2. มีใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Certificate) ที่อยู่ภายใต้การรับรองของผู้ให้บริการออกใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (NRCA) และสำนักงานพัฒนาธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA) 3. มีระบบการควบคุมภายในที่ดี สามารถพิสูจน์ได้ว่าใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ที่จัดทำและนำส่งให้แก่ผู้รับมีความถูกต้องครบถ้วนโดยใช้วิธีการที่เชื่อถือได้ 4. ต้องไม่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ได้รับอนุมัติหรืออยู่ระหว่างการพิจารณาอนุมัติโครงการใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice by Time Stamp) ขั้นตอนการทำงานของระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt 1. จัดทำข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามรูปแบบที่กำหนดในรูปแบบ XML หรือรูปแบบอื่นที่ลงลายมือชื่อดิจิทัล 2. ส่งมอบให้ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ 3. นำส่งข้อมูลให้กรมสรรพากร ด้วยวิธีต่างๆ 3 วิธี ดังต่อไปนี้ 3.1 Web upload เป็นการส่งข้อมูลให้กับสรรพากร โดยการอัปโหลดเอกสารในรูปแบบ XML ให้แก่กรมสรรพากรผ่านทางเว็บไซต์ etax.rd.go.th 3.2 Service provider เป็นการเลือกใช้บริการส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์กับผู้ให้บริการส่งข้อมูลที่กรมสรรพากรรับรอง 3.3 Host to host สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการส่งข้อมูลจำนวนมาก (ไม่น้อยกว่า 500,000 ฉบับ/เดือน) และอยู่ในการกำกับดูแลของกองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ ขั้นตอนการสมัคร e-Tax Invoice & e-Receipt 1. จัดหาใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Certificate) จากผู้ให้บริการออกใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ ปัจจุบันมีผู้ให้บริการ 2 ราย ได้แก่ บริษัท ไทยดิจิทัล ไอดี จำกัด (www.thaidigitalid.com) และบริษัท อินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด (มหาชน) ( ) ทั้งนี้ใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ต้องจัดเก็บด้วยอุปกรณ์ USB Token หรือ HSM และการเลือกใช้อุปกรณ์ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม และลักษณะการใช้งานของผู้ประกอบการแต่ละราย 2. ดาวน์โหลดและติดตั้งโปรแกรม Ultimate Sign&View ไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์  3. เชื่อมต่ออุปกรณ์ Token หรือ HSM ที่มีใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์และตั้งค่าโปรแกรม 4. ลงทะเบียน บ.อ.01 ผ่านโปรแกรมฯ โดยระบุเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร ระบบจะแสดงชื่อสถานประกอบการและที่ตั้งสำนักงาน ให้ตรวจสอบข้อมูล ระบุอีเมลที่ใช้ในการติดต่อกรมสรรพากร และลงลายมือชื่อเพื่อยืนยันการลงทะเบียน 5. ตรวจสอบอีเมล และสร้างบัญชีผู้ใช้งานประเภทผู้ประกอบการ (Corporate) และกำหนดรหัสผ่าน (Password) ด้วยตนเอง 6. เข้าสู่ระบบบริการสมาชิก ที่เว็บไซต์ 7. เมื่อได้รับอนุมัติตามคำขอ บ.อ.01 แล้วระบบจะสร้างบัญชีผู้ใช้งานประเภท ผู้ประกอบการ(Corporate) ในนามของสำนักงานใหญ่ ที่ขึ้นต้นด้วย CA ตามด้วยเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร13 หลัก ซึ่งผู้ประกอบการสามารถสร้างบัญชีผู้ใช้งาน และกำหนดสิทธิ์ผู้ใช้งานภายในองค์กรได้ตามประเภทผู้ใช้งาน 8. จากนั้น ท่านสามารถออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ e-Tax Invoice & e-Receipt ได้แล้ว ซึ่งขั้นตอนการยื่นคำขอใช้ระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt สามารถสรุปเป็นแผนภาพง่ายๆ ได้ดังนี้ จากขั้นตอนการสมัครจะบางท่านจะคิดว่าขั้นตอนกระบวนการดูยุ่งยากและซับซ้อน แต่ในกรณีที่ผู้ประกอบการเลือกใช้บริการผ่าน Service provide ทาง Service provide จะมีบริการช่วยทำตั้งแต่ขั้นตอนการของการจัดหาใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Certificate) การสมัครเข้าโครงการ e-Tax Invoice และ e-Receipt ทำให้ผู้ประกอบการไม่ต้องกังวลกับเรื่องเหล่านี้ และสามารถออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ได้เลยครับ ขั้นตอนการเชื่อมต่อ e-Tax Invoice & e-Receipt กับโปรแกรม PEAK ปัจจุบัน PEAK สามารถเชื่อมต่อกับผู้ให้บริการ(Service provide) e-Tax Invoice & e-Receipt ถึง 2 ราย ได้แก่ 1) บมจ. อินเทอร์เน็ตประเทศไทย (INET), สนใจอ่านวิธีเชื่อมต่อกับ INET เพิ่มเติมได้ที่นี่ 2) บจ. ฟรีเวชั่น จำกัด (Leceipt), สนใจอ่านวิธีเชื่อมต่อกับ Leceipt เพิ่มเติมได้ที่นี่ นอกจากผู้ให้บริการ e-Tax Invoice & e-Receipt จะช่วยคุณตั้งแต่การสมัครและขอใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์แล้ว PEAK ยังช่วยทำให้การส่งออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ไปยังคู่ค้าได้ง่ายๆ เพียงไม่กี่คลิกครับ PEAK ขอเล่า : การออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) ทั้ง 2 รูปแบบ ทั้ง e-Tax Invoice by Time Stamp และ e-Tax Invoice & e-Receipt จะสร้างความสะดวก ลดปัญหาในการจัดเก็บเอกสารทั้งกับกิจการ ร้านค้า และผู้ซื้อ นอกจากนั้นยังรองรับสิทธิประโยชน์จากมาตรการภาครัฐในอนาคตอีกหลายๆ มาตรการ เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ผู้ประกอบการในยุคดิจิทัลไม่ควรพลาด สำหรับใครที่สนใจอยากรู้รายละเอียดระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) ที่เหลืออีกหนึ่งโครงการ นั่นคือ โครงการ e-Tax Invoice & e-Receipt ตามไปอ่านกันต่อได้ที่บทความ e-Tax Invoice & e-Receipt คืออะไร ขั้นตอนการสมัคร และการใช้งาน PEAK ช่วยผู้ประกอบการให้สามารถออกเอกสารใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) ได้ทั้ง 2 รูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น e-Tax Invoice by Time Stamp หรือ e-Tax Invoice & e-Receipt เพียงแค่คลิกเชื่อมต่อกับ PEAK หลังจากนี้คุณก็สามารถออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ได้ง่ายๆ ผ่านโปรแกรม PEAK ได้แล้วครับ ถ้าอยากรู้ว่าง่ายขนาดไหน แนะนำให้ลองดูวิดีโอสั้นๆ การเชื่อมต่อระบบและวิธีการส่งใบกำกับใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) ได้เลยครับ ออกเอกสารง่ายในไม่กี่คลิก

17 ม.ค. 2024

จักรพงษ์

9 min

e-Tax Invoice by Time Stamp คืออะไร

จากบทความ เรื่องต้องรู้ เกี่ยวกับ e-Tax Invoice ผู้ประกอบการคงรู้กันแล้วว่าใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) ก็คือ การเปลี่ยนใบกำกับภาษีแบบกระดาษมาเป็นแบบออนไลน์ผ่านวิธีที่กรมสรรพากรรองรับ แต่สำหรับใครที่สนใจจะเข้าร่วมโครงการนี้ก็ต้องเลือกต่อว่าโครงการใดที่เหมาะสมกับลักษณะของธุรกิจของเรา ระหว่าง e-Tax Invoice by Time Stamp และ e-Tax Invoice & e-Receipt สำหรับในบทความนี้ เราจะมาพูดถึง e-Tax Invoice by Time Stamp กันครับว่ามีรายละเอียดเป็นอย่างไร และมีความน่าสนใจอย่างไรบ้าง e-Tax Invoice by Time Stamp คืออะไร? e-Tax Invoice by Time Stamp (ชื่อเดิม e-Tax Invoice by Email) เป็นการจัดทำใบกำกับภาษีโดยการส่งอีเมลถึงผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ พร้อมสำเนา CC ไปยังระบบของสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.หรือ ETDA) เพื่อให้ระบบประทับรับรองเวลา (Time Stamp) และระบบจะส่งใบกำกับภาษีที่ประทับรับรองเวลาแล้วให้กับผู้ซื้อและผู้ขายเพื่อเป็นหลักฐานในการทำธุรกรรม 3 เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่ออก e-Tax Invoice by Time Stamp ได้ นอกจากใบกำกับภาษีเท่านั้นที่สามารถเปลี่ยนมาเป็นรูปแบบออนไลน์ได้แล้ว กรมสรรพากรยังได้อนุมัติเอกสารอื่นๆ ด้วยเช่นกัน ได้แก่ คุณสมบัติของผู้ประกอบการที่ขอจัดทำ e-Tax Invoice by Time Stamp ผู้ประกอบการที่ต้องการขอจัดทำ e-Tax Invoice by Time Stamp จะต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ ขั้นตอนการทำงานระบบ e-Tax Invoice by Time Stamp การยื่นคำขอใช้ระบบ e-Tax Invoice by Time Stamp ขั้นตอนการเชื่อมต่อ e-Tax Invoice by Time Stamp กับโปรแกรม PEAK หลังจากที่ผู้ประกอบการได้รับอีเมลที่ได้ลงทะเบียนกับทางกรมสรรพากรแล้ว สามารถใช้อีเมลดังกล่าวมากรอกและกดเชื่อมต่อการออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) กับ PEAK ได้ทันทีง่ายๆ เพียงไม่กี่คลิก ซึ่งสามารถติดตามขั้นตอนการเชื่อมต่อและจัดส่งใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มเติมได้ที่บทความ การเชื่อมต่อและวิธีจัดส่งใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์แบบ e-Tax Invoice by Time Stamp PEAK ขอเล่า : สำหรับใครที่สนใจอยากรู้รายละเอียดระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) ที่เหลืออีกหนึ่งโครงการ นั่นคือ โครงการ e-Tax Invoice & e-Receipt ตามไปอ่านกันต่อได้ที่บทความ e-Tax Invoice & e-Receipt คืออะไร PEAK ช่วยผู้ประกอบการให้สามารถออกเอกสารใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) ได้ทั้ง 2 รูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น e-Tax Invoice by Time Stamp หรือ e-Tax Invoice & e-Receipt เพียงแค่คลิกเชื่อมต่อกับ PEAK หลังจากนี้คุณก็สามารถออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ได้ง่ายๆ ผ่านโปรแกรม PEAK ได้แล้วครับ ถ้าอยากรู้ว่าง่ายขนาดไหน แนะนำให้ลองดูวิดีโอสั้นๆ การเชื่อมต่อระบบและวิธีการส่งใบกำกับใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) ได้เลยครับ ออกเอกสารง่ายในไม่กี่คลิก

17 ม.ค. 2024

PEAK Account

2 min

ส่งใบลดหนี้/ใบกำกับภาษี ผ่านระบบ e-Tax Invoice

ถ้าทางกิจการมีการเชื่อมต่อการส่ง e-Tax Invoice ที่โปรแกรม PEAK เรียบร้อยแล้ว ผู้ใช้งานสามารถที่จะส่งเอกสาร ใบลดหนี้ ผ่านระบบ e-Tax Invoice ได้โดยเอกสารใบลดหนี้ที่สามารถส่ง e-Tax Invoice ได้นั้น จะต้องเป็น ใบลดหนี้/ใบกำกับภาษีผู้ใช้งานสามารถทำตามขั้นตอนต่อไปนี้ ขั้นตอนที่ 1: ไปที่เอกสารใบลดหนี้/ใบกำกับภาษี ที่ต้องการส่งใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์กดคลิกเครื่องหมาย Drop Down ที่ปุ่ม ส่งเอกสาร >> เลือก e-Tax Invoice ขั้นตอนที่ 2: ขั้นตอนการส่งใบกำกับภาษีอิเล็กจะแบ่งเป็น 2 แบบ แบบที่ 1: ใช้ระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt ผ่าน INET แบบที่ 2: ใช้ระบบ e-Tax Invoice by Email หมายเหตุ: เอกสารใบลดหนี้ที่ต้องการส่งแบบอิเล็กทรอนิกส์ จะต้องเป็นเอกสารฉบับใบลดหนี้แบบอ้างอิงเท่านั้น – จบขั้นตอนการส่งเอกสารใบลดหนี้ e-Tax invoice –

16 ม.ค. 2024

PEAK Account

7 min

วิธีการออกใบแทนใบกำกับภาษี กรณีที่ต้องการยกเลิก e-Tax invoice by email

เนื่องจากประกาศกรมสรรพากรว่าในการจัดทำ ส่งมอบ และเก็บรักษาใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านระบบ e-Tax Invoice by Email ลงวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2560 สิ้นสุดลง ทางกรมสรรพากรจึงประกาศเกี่ยวกับการจัดทำ ส่งหรือเก็บรักษาใบกำกับภาษีโดยการประทับรับรองเวลา (Time Stamp) กรณีที่ผู้ใช้งานได้มีการออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์พร้อมส่งเอกสารเรียบร้อย แต่ในภายหลังพบข้อมูลในเอกสารไม่ถูกต้อง ให้ผู้ใช้งานจัดทำใบกำกับภาษีฉบับใหม่ที่ถูกต้องขึ้นมาโดยไม่จำต้องเรียกคืนใบกำกับภาษีฉบับเดิม พร้อมทั้งระบุข้อมูลเพิ่มเติม ดังนี้ 1. กำหนดเลขที่ใบกำกับภาษีฉบับใหม่เป็นเลขที่ใหม่ และระบุ วัน เดือน ปี ที่ได้จัดทำใบกำกับภาษีฉบับใหม่ 2. จัดทำข้อความที่แสดงว่า เป็นการยกเลิกและออกใบกำกับภาษีฉบับใหม่แทนฉบับเดิมเลขที่ … ลงวันที่ .. หรือข้อความอื่นใดในลักษณะทำนองเดียวกัน และหมายเหตุการยกเลิกใบกำกับภาษีไว้ในรายงานภาษีขายของเดือนภาษีที่จัดทำใบกำกับภาษีฉบับใหม่ โดยประกาศนี้เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2566อ้างอิง การจัดทำ ส่งหรือเก็บรักษาใบกำกับภาษีโดยการประทับรับรองเวลา (Time Stamp) ในการใช้งาน หากผู้ใช้งานตรวจสอบพบว่าข้อมูลในใบกำกับภาษีฉบับเดิมนั้นผิด ผู้ใช้งานสามารถยกเลิกและออกเอกสารใบกำกับภาษีฉบับใหม่แทนฉบับเดิมได้โดยกด “ยกเลิก e-Tax Invoice” (ดังภาพระกอบด้านล่าง) จากนั้นระบบจะแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับขั้นตอนการออกให้เบื้องต้น และให้กดยืนยัน หลังจากนั้นให้ผู้ใช้งานทำการออกใบกำกับภาษีฉบับใหม่ (ตามข้อ 1.) โดยใช้เลขที่ใหม่และอ้างอิงเลขที่ใบกำกับภาษีเดิม (ตามข้อ 2.) แทน โดยวิธีการออกใบกำกับภาษีใบใหม่มีขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1: ไปที่หน้าเอกสารเดิมที่กดยกเลิก e-Tax invoice ไป จากนั้นกดตัวเลือก > คัดลอก ขั้นตอนที่ 2: ในช่องอ้างอิง ให้ระบุเลขที่เอกสารฉบับเดิม เพื่อที่จะทราบว่าใบกำกับภาษีฉบับนี้เป็นการออกแทนใบกำกับภาษีฉบับเดิม ขั้นตอนที่ 3: ช่องหมายเหตุ ให้ระบบข้อความตามข้อ 2. ที่สรรพากรกำหนด คือ เดิม: ใบแจ้งหนี้/ใบกำกับภาษี เลขที่ IV-2023050007 วันที่ 31/05/2023ใหม่: ใบแจ้งหนี้/ใบกำกับภาษี เลขที่ IV-2023050008 วันที่ 31/05/2023หมายเหตุเอกสารระบุ: เป็นการยกเลิกและใบกำกับภาษีฉบับใหม่แทนฉบับเดิมเลขที่ IV-20230500007 ลงวันที่ 31/05/2023 เนื่องจากที่อยู่ผิด ขั้นตอนที่ 4: ขั้นตอนการดาวน์โหลดไฟล์ PDF/A-3 ของเอกสารใบกำกับภาษีฉบับใหม่เพื่อนำไฟล์ไปส่งอีเมล ขั้นตอนที่ 5: ในการส่งเอกสาร e-Tax invoice จากเดิมเมื่อกดส่งทางอีเมล ระบบจะขึ้นหัวข้อให้อัตโนมัติแต่เนื่องจากประกาศจากสรรพากร กรณีเป็นการออกใบกำกับภาษีฉบับใหม่ หัวข้อให้ระบุดังนี้ ทำให้ไม่สามารถส่งใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ผ่านโปรแกรม PEAK ได้ รายละเอียดในการระบุอีเมล ส่ง (To) : ให้ระบุเป็นอีเมลของลูกค้า​สำเนา (Cc) : ให้ระบุอีเมลของ Etda (ต้องระบุทุกครั้ง): [email protected]​หัวข้ออีเมล (Subject) : ให้ระบุ [วันเดือนปีที่ออกใบกำกับภาษีใหม่][INV][เลขที่ใบกำกับภาษีใหม่][เลขที่ใบกำกับภาษีเดิม]ยกตัวอย่างเช่น ใบกำกับภาษีฉบับใหม่เลขที่ [IV-2023050008] ออกวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 ใบกำกับภาษีฉบับใหม่เลขที่ [IV-2023050007] หัวข้ออีเมลจะได้ว่า [31052565][INV][IV-2023050008][IV-2023050007] และทำการแนบไฟล์ใบกำกับภาษี ที่ดาวน์โหลด PDF-A3 จากโปรแกรม ตัวอย่างอีเมลที่ส่งใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ฉบับใหม่ ข้อจำกัดในการทำใบกำกับภาษีออกแทน1. ค่อนข้างซับซ้อน อาจทำผิดได้2. ระบบจะยังไม่มีการล็อกข้อมูลหรือแจ้งเตือนข้อมูลว่าใบกำกับภาษีฉบับใหม่ได้นำส่งแล้ว นอกจากผู้ใช้งานจะทำการตรวจสอบเองที่อีเมล (ข้อจำกัดนี้แก้ไขได้ด้วยการระบุความคิดเห็น (Comment) ใต้เอกสารว่ามีการส่งเรียบร้อย) – จบขั้นตอนวิธีการออกใบแทน –

29 พ.ย. 2023

จักรพงษ์

22 min

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คำนวณภาษีอย่างไร?

โดยทั่วไปการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ใช้วิธีดังนี้วิธีที่ 1 = [เงินได้ทั้งปี หัก ค่าใช้จ่าย หัก ค่าลดหย่อน] คูณ อัตราภาษีขั้นบันได 0% – 35% = ภาษีที่ต้องชำระนอกจากนี้กรณีมีเงินได้ประเภท 40(2)-(8) ตั้งแต่ 1.2 แสนบาทขึ้นไป ให้คำนวณวิธีที่ 2 เปรียบเทียบ แล้วเสียภาษีจากวิธีที่คำนวณภาษีได้มากกว่าวิธีที่ 2 = เงินได้ทั้งปี (ยกเว้นเงินได้ 40(1)) คูณ 0.5% = ภาษีที่ต้องชำระ การเสียภาษีถือเป็นหนึ่งในหน้าที่ของประชาชนชาวไทยอย่างเราๆ แม้จะมีรายได้มากหรือน้อยก็ยังต้องเสียภาษีอยู่ดี เช่น พี่เอกเป็นพนักงานบริษัท PEAK เมื่อได้เงินเดือนเกินเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนดก็ต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสิ้นปี หรือแม้แต่ป้าชม้อยที่เป็นคนว่างงานเดินเข้าร้านสะดวกซื้อ ซื้อขนมซองละ 20 บาท ก็ยังต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มโดยที่คุณป้าก็ไม่รู้ตัว นอกจากนี้ยังมีภาษีอีกหลายประเภทที่เราต้องจ่ายในชีวิตประจำวัน วันนี้ผมจะพาผู้อ่านทุกคนมารู้จักกับภาษีจากรายได้ที่บุคคลอย่างเราๆ ต้องจ่ายให้รัฐหรือภาษีเงินได้บุคคลธรรมดากันครับ บุคคลธรรมดา คือ ใคร? พอนึกถึงคำว่า “บุคคลธรรมดา” เราคงนึกถึงสิ่งมีชีวิตที่มีสองแขนสองขาที่เรียกว่ามนุษย์แบบเราใช่ไหมครับ แต่รู้หรือไม่ว่าในทางภาษี ไม่ได้หมายถึงแค่บุคคลที่มีชีวิตเท่านั้น แสดงว่าอาจจะเป็นสิ่งที่ไม่มีชีวิตก็ได้เหรอ? ใช่เลยครับ กรมสรรพากรได้กำหนดให้นิยามของ “บุคคลธรรมดา” ครอบคลุมถึง 5 กลุ่ม ดังนี้ เงินได้อะไรบ้างที่ต้องเสียภาษี? ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นภาษีที่จัดเก็บจากรายได้ที่บุคคลหามาได้ไม่ว่าจะด้วยวิธีไหนก็ตาม เพื่อที่จะนำรายได้นั้นไปเป็นฐานเพื่อเสียภาษี ในทางภาษีจะเรียก “รายได้” ว่า “เงินได้” หรือเรียกชื่อเต็มๆ คือ “เงินได้พึงประเมิน” ได้แก่ จะเห็นได้ว่าเงินได้เพื่อเสียภาษีไม่ได้จำกัดว่าต้องรับเป็นเงินเท่านั้น แต่ยังรวมถึงสิ่งของ หรือผลประโยชน์อื่นๆ เช่น นายจ้างได้เช่าบ้านให้เป็นที่พักอาศัยของพนักงาน ค่าเช่าบ้านจึงถือเป็นเงินได้ของพนักงาน ถือเป็นผลประโยชน์ที่พนักงานได้รับทั้งสิ้น ซึ่งต้องนำมาเสียภาษีด้วย หรือแม้แต่ของที่มีคนเอาให้เราฟรีๆ ก็ยังถือเป็นเงินได้ด้วยนะครับ ก่อนคำนวณภาษี ต้องรู้จักเงินได้พึงประเมิน 8 ประเภทก่อน เนื่องจากแต่ละคนประกอบอาชีพแตกต่างกัน มีความยากง่ายหรือมีต้นทุนที่มากน้อยไม่เท่ากัน เพื่อความเป็นธรรม ในกฎหมายภาษีจึงได้แบ่งลักษณะเงินได้ (พึงประเมิน) ออกเป็นกลุ่มๆ ตามความยากง่ายของงาน และจำนวนเงินที่จ่ายค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนเพื่อกำหนดวิธีคำนวณภาษีให้เกิดความเป็นธรรมมากที่สุด เพราะงานที่ใช้ต้นทุนสูงก็ควรหักค่าใช้จ่ายได้เยอะ ถ้าต้นทุนน้อยก็ควรหักค่าใช้จ่ายได้น้อย  ตัวอย่างเช่น เงินได้ประเภทที่ 1 เงินเดือน กำหนดค่าใช้จ่ายให้หักเหมา 50% สูงสุดไม่เกิน 1 แสนบาท เพราะค่าใช้จ่ายในการทำงานของมนุษย์เงินเดือนไม่ได้สูงมากนัก หรือ เงินได้ประเภทที่ 7 ค่ารับเหมาก่อสร้างจะสามารถหักค่าใช้จ่ายได้สูงถึง 60% เพราะการรับเหมาต้องมีค่าแรงงานและซื้อค่าวัสดุก่อสร้างซึ่งมีมูลค่าที่สูง ถ้าอยากเข้าใจเงินได้ทั้ง 8 ประเภทมากขึ้น ผมขอแนะนำให้อ่านบทความ ต้องรู้ก่อนเสียภาษี เงินได้ 8 ประเภทมีอะไรบ้าง? เพิ่มเติมครับ มาเริ่มคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดากัน? หลังที่เรารู้ว่าใครบ้างที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา อะไรบ้างที่ถือเป็นเงินได้และประเภทของเงินได้กันแล้ว ก็ถือเวลาที่เราต้องเข้าใจขั้นตอนถัดมา คือ การคำนวณภาษี เงินได้บุคคลธรรมดาครับ สิ่งแรกที่เราต้องทำคือรวบรวมเงินได้ที่หามาได้ตลอดทั้งปีภาษีมารวมกันครับ (ยกเว้นเงินได้ที่ยกเว้นภาษีหรือที่ไม่ต้องเสียภาษี) และนำไปคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตาม 3 ขั้นตอน ดังนี้ครับ ขั้นที่ 1 คำนวณหาจำนวนภาษีตาม วิธีที่ 1 ก่อน การหักค่าใช้จ่าย ค่าใช้จ่ายเป็นองค์ประกอบหนึ่งในการคำนวณภาษี ถือเป็นสิทธิประโยชน์ทางภาษีอย่างหนึ่งที่กฎหมายกำหนดไว้ สำหรับหักเป็นต้นทุนในการทำงาน โดยมีอัตราการหักค่าใช้จ่ายมากหรือน้อยตามแต่ละประเภทของเงินได้ และบางเงินได้ กรมสรรพากรได้เปิดโอกาสในการเลือกหักค่าใช้จ่ายตามที่จ่ายจริงหรือในอัตราเหมาได้ ดังนี้ การหักลดหย่อน ค่าลดหย่อนเป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบในการคำนวณภาษีที่กฎหมายกำหนดให้นำไปหักออกจากเงินได้ได้อีกหลังจากหักค่าใช้จ่ายแล้ว การหักลดหย่อนกรณีต่างๆ แตกต่างกันออกไป สรุปค่าลดหย่อนพื้นฐานได้ดังนี้            –  เงินบริจาคสนับสนุนการศึกษา/กีฬา/พัฒนาสังคม หักลดหย่อนได้ 2 เท่าของที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน            –  เงินบริจาคผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) หักลดหย่อนได้ 2 เท่าของที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินร้อยละ10 ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน            –  เงินบริจาคทั่วไป หักลดหย่อนได้เท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอื่น            –  เงินบริจาคแก่พรรคการเมือง หักลดหย่อนได้เท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10,000 บาท อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา อัตราภาษีที่ใช้คำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มีลักษณะเป็นอัตราก้าวหน้าหรือตามขั้นบันไดตั้งแต่อัตราภาษีต่ำสุด 0% จนถึงเพดานสูงสุดที่ 35% พูดให้เข้าใจง่ายๆ คือ ถ้ายิ่งมีฐานเงินได้สูง ระดับอัตราภาษีก็จะสูงขึ้นตาม และภาษีที่ต้องจ่ายก็จะมีจำนวนที่มากขึ้น ดังนี้ ขั้นที่ 2 ดูว่าเข้าเงื่อนไขที่ต้องคำนวณภาษีตาม วิธีที่ 2 หรือไม่ ถ้าเข้าเงื่อนไขให้คำนวณวิธีที่ 2 ถ้าไม่เข้าเงื่อนไข ข้ามไปที่ขั้นตอนที่ 3 ได้เลย กรณีที่ต้องคำนวณภาษีตามวิธีที่ 2 ได้แก่ กรณีที่เงินได้ทุกประเภทในปี แต่ไม่รวมเงินได้ประเภทที่ 1 (เงินเดือน) มีจำนวนรวมกันตั้งแต่ 120,000 บาทขึ้นไป ให้คำนวณในอัตราร้อยละ 0.5 ดังนี้ รายได้ทั้งหมด (ยกเว้นรายได้ประเภทที่1) คูณ 0.5% = ภาษีที่คำนวณได้ตามวิธีที่ 2 จากตัวอย่างในวิธีที่ 1 นาย ก มีรายได้ที่มิใช่ประเภทที่ 1 (เงินเดือน) เฉพาะรายได้ค่าเช่ารถยนต์ 1.5 ล้านบาท จะคำนวณภาษีวิธีที่ 2 ได้ดังนี้ 1,500,000 บาท คูณ 0.5% = 7,500 บาท (ภาษีที่คำนวณได้ตามวิธีที่ 2) หมายเหตุ: หากคำนวณตามวิธีที่ 2 แล้วมีภาษีเงินได้ที่ต้องเสียจำนวนทั้งสิ้นไม่เกิน 5,000 บาท ผู้มีเงินได้ ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ตามวิธีที่ 2 แต่ยังต้องเสียภาษีตามจำนวนที่คำนวณได้ตามวิธีที่ 1 อยู่ ขั้นที่ 3 สรุปจำนวนภาษีที่ต้องเสีย ให้คำนวณภาษีที่คำนวณได้ระหว่างวิธีที่ 1 และวิธีที่ 2 มาเปรียบเทียบกัน โดยต้องเสียภาษีจากภาษีที่คำนวณแล้วเสียสูงกว่า จากนั้นดูต่อว่าระหว่างปีมีภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่าย ภาษีที่ชำระตอนครึ่งปี (ภ.ง.ด.94) ภาษีที่ได้ชำระล่วงหน้า หรือเครดิตภาษีเงินปันผล เพราะภาษีเหล่านี้เหมือนเราได้ชำระไปแล้วล่วงหน้า จึงต้องนำมาหักให้เหลือเพียงภาษีที่ต้องชำระเพิ่มเท่านั้น ในบางกรณีภาษีที่ชำระล่วงหน้าอาจสูงกว่าภาษีที่คำนวณได้ ผู้เสียภาษีสามารถทำเรื่องขอคืนภาษีส่วนเกินนั้นได้ สรุปก็คือ นาย ก จริงๆ ต้องมีภาษีที่ต้องเสียให้กรมสรรพากรรวม 212,500 บาท แต่เนื่องจากระหว่างปีมีการถูกหัก ณ ที่จ่ายภาษีไปบางส่วนแล้ว รวมถึงมีการชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี (ภ.ง.ด.94) ด้วย ทำให้เหลือภาษีที่ต้องชำระเพิ่มเติมอีกเพียง 57,500 บาทครับ คำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแล้ว ต้องยื่นภาษีเมื่อไหร่ อย่างไร? เมื่อคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเสร็จแล้ว ผู้มีเงินได้มีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีและเงินภาษีให้กรมสรรพากรภายในเวลาที่กำหนด แต่แบบภาษีที่ใช้ต้องสอดคล้องกับประเภทเงินได้ที่มีในปีนั้น โดยมีแบบภาษีที่เกี่ยวข้อง 3 แบบ ดังนี้ 1. ภ.ง.ด.91 : แบบแสดงรายการภาษีเงินได้ประจำปี สำหรับผู้มีเงินได้จากการจ้างแรงงานประเภทที่ 1 ประเภทเดียว ต้องยื่นภายในเดือนมีนาคมของปีถัดไป 2. ภ.ง.ด.90 : แบบแสดงรายการภาษีเงินได้ประจำปี สำหรับผู้มีเงินได้ประเภทที่ 5-8 ต้องยื่นภายในเดือนมีนาคมของปีถัดไป 3. ภ.ง.ด.94 : แบบแสดงรายการภาษีเงินได้ครึ่งปี สำหรับผู้มีเงินได้ประเภทที่ 5-8 ต้องยื่นภายในเดือนกันยายนของทุกปี โดยต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้พร้อมเงินภาษี ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา หรือกรณียื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ตจะขยายเวลาออกไปอีก 8 วัน ผ่อนชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้หรือไม่? เมื่อคำนวณแล้วมีภาษีที่ต้องเสีย กรมสรรพากรเปิดโอกาสให้บุคคลธรรมดาสามารถผ่อนชำระได้ถ้ามีภาษีที่ต้องชำระตั้งแต่ 3,000 บาทขึ้นไป ทั้งภาษีครึ่งปีและภาษีสิ้นปีสามารถขอผ่อนชำระได้ 3 งวดเท่าๆ กัน โดยไม่ต้องเสียเงินเพิ่มใดๆ ผู้เสียภาษีอาจติดต่อขอผ่อนชำระได้ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาโดยใช้แบบบ.ช. 35 จำนวน 1 ชุด 3 แผ่น ข้อความเหมือนกัน โดย ถ้าภาษีงวดใดงวดหนึ่งมิได้ชำระภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ผู้เสียภาษีหมดสิทธิ์ที่จะชำระภาษีเป็นรายงวด และต้องชำระคืนภาษีที่เหลือทั้งหมดพร้อมเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีงวดที่เหลือ ถ้าไม่ยื่นแบบแสดงรายการ หรือไม่ชำระภาษีจะมีความผิดอะไรบ้าง เมื่อเราไม่ยื่นภาษีภายในเวลาที่กำหนดเท่ากับว่าเราจะไม่ได้ยื่นทั้งแบบภาษีและเงินภาษีให้กรมสรรพากรทำให้เราจะมีโทษที่เกี่ยวข้อง 2 เรื่องหลักๆ ดังนี้ 1. กรณีไม่ยื่นแบบแสดงรายการแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาภายในกำหนดเวลา ต้องระวางโทษปรับทางอาญาไม่เกิน 2,000 บาท 2. กรณีไม่ชำระภาษีภายในกำหนดเวลา จะต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน (เศษของเดือนให้นับเป็น 1 เดือน) ของเงินภาษีที่ต้องชำระนับแต่วันพ้นกำหนดเวลาการยื่นรายการจนถึงวันชำระภาษี บทความนี้ชวนผู้อ่านทำความเข้าใจตั้งแต่บุคคลธรรมดาคือใคร เงินได้อะไรที่ต้องเสียภาษี เกณฑ์การหักค่าใช้จ่ายและสิทธิลดหย่อนมีอะไรบ้าง วิธีการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จนถึงการผ่อนชำระภาษีและค่าปรับต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น หวังว่าท่านผู้อ่านจะสามารถนำวิธีการคำนวณภาษีไปประยุกต์ใช้กับประเภทรายได้ของตนเองได้นะครับ หลังจากอ่านบทความนี้แล้ว คุณต้องการที่ปรึกษาเพื่อวางแผนและจัดการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ที่ PEAK เรามีพันธมิตรสำนักงานบัญชีมากกว่า 1,200 แห่งทั่วประเทศ พร้อมช่วยดูแลคุณ สนใจ คลิก

24 ต.ค. 2023

จักรพงษ์

11 min

เรื่องต้องรู้ก่อนเสียภาษีเงินได้

สองสิ่งที่หนีไม่พ้น คือ ความตายกับภาษี เป็นหนึ่งในวลีเด็ดที่เรามักถูกพร่ำสอนมาตั้งแต่สมัยเรียน ซึ่งก็เป็นความจริงเพราะนอกจากความตายที่เราไม่อาจหลีกหนีได้แล้ว ภาษีที่ต้องจ่ายก็เป็นเช่นนั้น ลองสังเกตชีวิตประจำวันของเราก็ได้ครับ แค่เด็กน้อย 8 ขวบไปซื้อของที่ร้านสะดวกซื้อ เราก็ต้องจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่มจากค่าสินค้าโดยไม่รู้ตัวแล้ว พอโตขึ้นมาหน่อยเริ่มมีเงินจากการทำงานก็ต้องโดนนายจ้างหักภาษีเงินได้เงินเดือนเราอีก นั่นละครับชีวิต ในบทความนี้เราจะมาดูสิ่งที่ใช้เป็นฐานในการเสียภาษีเงินได้ นั้นก็คือ “รายได้” กันครับ แต่ในเชิงการเสียภาษีเราจะไม่ได้เรียกรายได้ตรงๆ แต่จะใช้คำว่า “เงินได้” แทนครับ เงินได้ คืออะไร? “เงินได้” คือ คำว่า “รายได้” ที่เราคุ้นเคยกันมาแต่จะมีความหมายที่กว้างกว่า เช่น เราทำงานแล้วได้เงินเป็นผลตอบแทน แล้วถ้าเราทำงานแต่ได้สิ่งตอบแทนเป็นสิ่งของหรือแลกกับบ้านเช่าที่ได้อยู่ฟรีล่ะ? ในทางภาษีก็ถือเป็นเงินได้เหมือนกันครับ เพราะเงินได้หมายรวมถึงเงิน สิ่งของตอบแทน หรือผลประโยชน์อื่นๆ ที่สามารถคิดกลับมาเป็นตัวเงินได้ แม้แต่เงินที่เราได้มาฟรีก็ยังต้องเป็นเงินได้เพราะถือเป็นผลประโยชน์อื่นๆ ที่ได้รับครับ “เงินได้” ย่อมาจากคำว่า “เงินได้พึงประเมิน” ซึ่งหมายถึง เงินได้ของบุคคลใดๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม ของปี ได้แก่ 1.เงิน 2. ทรัพย์สินซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน 3.ประโยชน์ซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน 4.เงินค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้ 5.เครดิตภาษีตามที่กฎหมายกำหนด ภาษีเงินได้ 8 ประเภท มีอะไรบ้าง? พอเราเข้าใจว่าคำว่า “รายได้” เท่ากับ “เงินได้” ในทางภาษีแล้ว ก็ต้องรู้ต่อว่าทางกรมสรรพากรซึ่งเป็นหน่วยงานจัดเก็บภาษีของประเทศไทย ได้แบ่งประเภทของเงินได้พึงประเมินออกเป็น 8 ประเภท ดังนี้ 1. เงินเดือน 2. รับจ้างทำงาน 3. ค่าลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร 4. ดอกเบี้ย เงินปันผล 5. ค่าเช่าทรัพย์สิน 6. วิชาชีพอิสระ 7. รับเหมาก่อสร้าง 8. รายได้อื่นๆ นอกจาก 1-7 อ้างอิงตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร บางคนอาจเรียกว่าเงินได้ประเภท 40(1) (2) (3) (4) (5) (6) (7) หรือ (8) ก็ได้ เงินได้ประเภทที่ 1 หรือ 40(1) ได้แก่ เงินได้จากการจ้างแรงงาน เช่น เงินเดือน เบี้ยเลี้ยง โบนัส ฯลฯ เงินได้ประเภทที่ 2 หรือ 40(2) ได้แก่ เงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้ เช่น ค่านายหน้า ค่ารับจ้าง โดยจะเน้นเรื่องการใช้แรงงานตัวเองเป็นหลัก เงินได้ประเภทที่ 3 หรือ 40(3) ได้แก่ ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์ หรือสิทธิอย่างอื่น เงินปี หรือเงินได้ที่มีลักษณะเป็นเงินรายปีอันได้มาจากพินัยกรรม นิติกรรมอย่างอื่น หรือคำพิพากษาของศาล เงินได้ประเภทที่ 4 หรือ 40(4) ได้แก่ ดอกเบี้ย เงินปันผล เงินส่วนแบ่งกำไร เงินลดทุน เงินเพิ่มทุน ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนหุ้น ฯลฯ เงินได้ประเภทนี้จะดอกผลที่เกี่ยวเนื่องจากการลงทุนของผู้มีเงินได้ เงินได้ประเภทที่ 5 หรือ 40(5) ได้แก่ (ก) การให้เช่าทรัพย์สิน (ข) การผิดสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สิน (ค) การผิดสัญญาซื้อขายเงินผ่อน ซึ่งผู้ขายได้รับคืนทรัพย์สินที่ซื้อขายนั้นโดยไม่ต้องคืนเงินหรือประโยชน์ที่ได้รับไว้แล้ว เงินได้ประเภทที่ 6 หรือ 40(6) ได้แก่ เงินได้จากวิชาชีพอิสระ เช่น วิชาชีพกฎหมาย การประกอบโรคศิลปะ (แพทย์รักษาคน) วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การบัญชี ประณีตศิลปกรรมหรือวิชาชีพอื่นซึ่งจะได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดไว้ เงินได้ประเภทที่ 7 หรือ 40(7) ได้แก่ เงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนด้วยการจัดหาสัมภาระในส่วนสำคัญนอกจากเครื่องมือ เช่น การรับเหมาก่อสร้าง เงินได้ประเภทที่ 8 หรือ 40(8) ได้แก่ เงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง การขายอสังหาริมทรัพย์ หรือเงินได้จากการอื่นที่ไม่ได้ระบุไว้ในเงินได้ประเภทที่ 1 ถึงประเภทที่ 7 เช่น ขายสินค้าออนไลน์  สาเหตุที่ต้องแบ่งเงินได้ออกเป็น 8 ประเภท สาเหตุที่ต้องแยกเงินได้ออกมาเป็นแต่ละประเภทมาจากการที่แต่ละอาชีพมีความยากง่ายหรือมีต้นทุนในการทำอาชีพนั้นแตกต่างกันจึงกำหนดค่าใช้จ่ายเพื่อหักจากเงินได้เพื่อเสียภาษีในอัตราเปอร์เซ็นต์ที่อ้างสามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 60%ของรายได้ ส่วนเงินได้จากค่าเช่ารถอาจจะมีต้นทุนที่ต่ำลงมาจึงหักค่าใช้ได้จ่ายได้ 30%ของรายได้ ในบางกรณีเงินได้บางประเภทมีต้นทุนต่ำมากหรืออาจไม่มีเลยจะไม่สามารถหักค่าใช้จ่ายได้เลย เช่น ดอกเบี้ย เงินปันผล เป็นต้นครับ ดังนั้นถ้าเราไม่แยกประเภทของเงินได้และกำหนดให้ทุกเงินได้หักค่าใช้จ่ายเท่ากันจะทำให้เกิดความไม่ยุติธรรมในแง่ของผู้มีเงินได้ครับ อัตราการหักค่าใช้จ่ายตามประเภทเงินได้ของบุคคลธรรมดา การเสียภาษีของบุคคลธรรมดาจะสามารถเลือกหักค่าใช้จ่ายเพื่อหากำไรที่ต้องเสียภาษีได้ 2 วิธี นั้นคือวิธีหักตามความจำเป็นและสมควร (ตามค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง) และวิธีหักอัตราเหมาที่ทางกรมสรรพากรกำหนด ซึ่งบางเงินได้สามารถเลือกได้ทั้งสองวิธี แต่บางเงินได้อาจจะบังคับให้หักค่าใช้จ่ายตามจริงเท่านั้น ดังนี้ ผู้ประกอบการควรเลือกวิธีการหักค่าใช้จ่ายที่สามารถหักได้สูงสุด เช่น พี่เอกมีเงินได้จากการรับเหมาก่อสร้าง 1 ล้านบาท มีต้นทุนที่เกิดขึ้นจริง 8 แสนบาท ถ้าเลือกหักด้วยวิธีอัตราเหมาจะหักค่าใช้จ่ายได้เพียง 60% ของเงินได้หรือ 600,000 บาท แต่ถ้าเลือกวิธีหักตามจริงจะสามารถหักได้ถึง 8 แสนบาท ทำให้กำไรที่จะนำไปเสียภาษีต่ำลง อย่างไรก็ตามการเลือกวิธีหักค่าใช้จ่ายตามจริงก็มีเรื่องที่ต้องระวัง คือ ทุกค่าใช้จ่ายที่นำมาหักต้องมีเอกสารหลักฐานการจ่ายเก็บไว้เสมอ เช่น ใบเสร็จรับเงิน ใบกำกับภาษี และต้องเกี่ยวข้องกับการทำธุรกิจของเราด้วย สรุปแล้วรายได้หรือเงินได้มีทั้งหมด 8 ประเภท โดยแบ่งเป็นตามความยากง่ายและต้นทุนที่เกี่ยวข้องของเงินได้นั้นๆ กรณีบุคคลธรรมดาการที่เรารู้ว่าเงินได้ของเราอยู่ประเภทไหนจะช่วยให้ทราบว่าสามารถหักค่าใช้จ่ายเพื่อคำนวณภาษีด้วยวิธีหักตามความจำเป็นและสมควร(ตามค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง) และวิธีหักอัตราเหมาที่ทางสรรพากรกำหนด อย่างไรก็ตามวิธีหักค่าใช้จ่ายตามจริงต้องมีการจัดเก็บเอกสารเพื่อให้สรรพากรตรวจสอบได้ว่ามีการจ่ายค่าใช้จ่ายจริง และมีความเกี่ยวข้องกับธุรกิจที่ทำอยู่ด้วย หลังจากอ่านบทความนี้แล้ว คุณต้องการที่ปรึกษาเพื่อวางแผนและจัดการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ PEAK เรามีพันธมิตรสำนักงานบัญชีมากกว่า 1,200 แห่งทั่วประเทศ พร้อมช่วยดูแลคุณ สนใจ คลิก

31 พ.ค. 2023

PEAK Account

6 min

ช้อปดีมีคืน 2566 ลดหย่อนภาษีอย่างไรให้ได้ประโยชน์สูงสุด

ใกล้ก้าวเข้าสู่กลางปีกันแล้ว แม้จะยังไม่ถึงเวลาที่ต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่ผู้ประกอบการควรมีการเตรียมพร้อมอยู่เสมอสำหรับโครงการช้อปดีมีคืนประจำปี 2566 โดยเฉพาะการออกใบกำกับภาษีที่จะต้องดำเนินการอย่างถูกต้อง ครบถ้วน ทั้งในรูปแบบของกระดาษและอิเล็กทรอนิกส์ สิทธิประโยชน์ที่ผู้ประกอบการจะได้รับจากโครงการช้อปดีมีคืน 2566 โดยเงื่อนไขสิทธิประโยชน์ช้อปดีมีคืน ถูกกำหนดไว้ดังนี้ ค่าซื้อสินค้าหรือบริการ จำนวน 30,000 บาทแรก สำหรับผู้มีหลักฐานใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีแบบกระดาษหรืออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt และ e-Tax Invoice by Email ของกรมสรรพากรเท่านั้น ค่าซื้อสินค้าหรือบริการ เพิ่มอีกจำนวน 10,000 บาท สำหรับผู้มีหลักฐานใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt และ e-Tax Invoice by Email ของกรมสรรพากรเท่านั้น ซึ่งใบกำกับภาษีแบบกระดาษนั้นไม่สามารถใช้ได้ หมายความว่า หากผู้ประกอบการสามารถออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ได้ จะตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าอย่างมาก เนื่องจากลูกค้าสามารถใช้ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ลดหย่อนภาษีได้สูงสุดถึง 40,000 บาท ซึ่งอาจส่งผลให้มีลูกค้ามาซื้อสินค้าและบริการเพิ่มขึ้นได้ ผู้ประกอบการที่ต้องการสร้างใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ที่สะดวก รวดเร็ว และเป็นมืออาชีพ PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ตอบโจทย์คุณ เพราะ PEAK สามารถสร้างใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ได้ง่ายๆ อย่างถูกต้องและแม่นยำ อีกทั้งยังช่วยลดพื้นที่ในการจัดเก็บเอกสารแบบกระดาษ และที่สำคัญยังเพิ่มโอกาสให้ผู้ประกอบการสามารถสร้างรายได้จากโครงการช้อปดีมีคืนได้อย่างเต็มประสิทธิภาพอีกด้วย โดยขั้นตอนการดำเนินการผ่านโปรแกรม PEAK นั้นไม่ยากอย่างที่คิด ผู้ประกอบการสามารถสมัครใช้งานโปรแกรม PEAK ได้ที่เว็บไซต์ www.peakaccount.com แล้วสมัครเข้าระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt ของกรมสรรพากรได้ที่เว็บไซต์ etax.rd.go.th เพียงเท่านี้ก็สามารถสร้างใบกำกับภาษีเต็มรูปในแบบอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างถูกต้อง ลูกค้าที่จะได้รับสิทธิประโยชน์จากโครงการช้อปดีมีคืน 2566 สำหรับลูกค้า ที่ต้องการใช้สิทธิลดหย่อนภาษีให้ได้จำนวนสูงสุดถึง 40,000 บาท มีรายละเอียดและข้อปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ถูกต้อง ดังนี้ ☑️ เลือกร้านค้าที่สามารถออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ได้ เนื่องจากใบกำกับภาษีแบบกระดาษไม่สามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้หากจำนวนเกิน 30,000 บาทแรก หมายความว่า เมื่อลูกค้าเลือกซื้อสินค้าและบริการจากร้านค้าที่ใช้โปรแกรมบัญชีที่สามารถออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ได้ เช่น PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ ก็จะสามารถได้รับใบกำกับภาษีแบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อใช้ลดหย่อนภาษีได้สูงสุดถึง 40,000 บาท ☑️ ตรวจสอบหลักฐานให้ถูกต้อง หากต้องการใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีได้โดยไม่เกิดปัญหานั้น การตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารนั้นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งโดยเฉพาะส่วนของใบกำกับภาษี จากเดิมที่ผู้ประกอบการนำส่งใบกำกับภาษีรูปแบบกระดาษนั้น จะต้องแสดงรายละเอียดใบกำกับภาษีเต็มรูปตามมาตรา 86/4 โดยมีข้อความครบถ้วน และใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ต้องมีการแสดงรายละเอียดเพิ่มเติม ดังนี้ ดังนั้น เมื่อเราได้รับข้อมูลใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์จากผู้ประกอบการแล้ว ลูกค้าต้องตรวจสอบข้อมูลต่างๆ ให้ถูกต้องเพื่อรักษาสิทธิประโยชน์ในการลดหย่อนภาษีของตนเอง PEAK สามารถสร้างใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ได้ง่ายๆ เพียงไม่กี่คลิก พร้อมเอกสารที่มีดีไซน์สวยงาม อ่านง่ายถูกใจลูกค้า ช่วยให้ธุรกิจของคุณเป็นมืออาชีพมากยิ่งขึ้น

31 ม.ค. 2024

จักรพงษ์

9 min

ร้านค้าออนไลน์ต้องรู้ แพลตฟอร์มออนไลน์ต้องส่งข้อมูลรายได้ให้กรมสรรพากร

ประเด็นสำคัญ  เรียกได้ว่าเหล่าร้านค้าออนไลน์ต้องเตรียมตัวอย่างหนักเลยทีเดียว เมื่อกรมสรรพากรได้ออกกฎหมายบังคับให้กลุ่มแพลตฟอร์มออนไลน์ทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น Shopee, Lazada, Line, Grab และอื่นๆ ต้องนำส่งข้อมูลรายได้ บัญชีธนาคาร เลขบัตรประชาชน ทั้งหมดของร้านค้าที่ขายสินค้าหรือให้บริการผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์นั้นให้แก่กรมสรรพากรทุกปี มีผลบังคับใช้เริ่มตั้งแต่ 1 มกราคม 2567 รายละเอียดเชิงลึกมีอะไรบ้าง เรามาดูกันต่อครับ ทำไมกรมสรรพากรต้องบังคับแพลตฟอร์มออนไลน์ให้ส่งรายได้ของร้านค้าออนไลน์? ก่อนหน้านี้สรรพากรเคยออกกฎหมาย E-payment ที่บังคับให้เหล่าธนาคาร หรือผู้ให้บริการกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Wallet) ต้องนำส่งรายการบัญชีของผู้ฝากเงินที่เข้าเงื่อนไขที่มีเงินเข้า 3,000 ครั้ง หรือเงินเข้า 400 ครั้งและมียอดเกิน 2 ล้านบาทให้แก่กรมสรรพากร เพื่อตรวจจับบุคคลที่หลีกเลี่ยงภาษีหรือส่งภาษีไม่ครบ ส่วนตัวเชื่อว่าวิธีการดังกล่าว บางครั้งก็พิสูจน์ได้ยากว่าเงินรับมาจากรายได้หรือเงินโอนทั่วไป และยังมีช่องโหว่ในการหลบหลีกเพื่อไม่เข้าเงื่อนไขดังกล่าว กรมสรรพากรจึงหาแนวทางใหม่เพิ่มเติมที่ตรงประเด็นมากขึ้น โดยเล็งเป้าไปยังกลุ่มผู้ค้าขายออนไลน์ที่ยังมีแนวโน้มว่าส่งภาษีไม่ครบหรือไม่ถูกต้อง  แพลตฟอร์มออนไลน์ที่ต้องส่งข้อมูลรายได้ให้กรมสรรพากร รายละเอียดต่างๆ ของกฎหมายฉบับนี้ถูกกำหนดอยู่ที่ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ เรื่อง กำหนดให้อิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์มมีบัญชีพิเศษ โดยแพลตฟอร์มออนไลน์ที่ต้องนำส่งข้อมูลร้านค้าออนไลน์ต้องเข้าเงื่อนไขทั้ง 2 ข้อ ได้แก่ 1. จดทะเบียนจัดตั้งในประเทศไทย และ 2. มีรายได้เกิน 1 พันล้านบาทต่อปี PEAK ขอเล่า : ร้านค้าออนไลน์จะต้องถูกนำส่งข้อมูลอะไรบ้าง? จากเอกสารแนบที่กรมสรรพากรกำหนดรายละเอียดข้อมูลที่ต้องนำส่ง ผมขอสรุปเฉพาะข้อมูลสำคัญของร้านค้าออนไลน์ที่ต้องถูกนำส่งไว้ ดังนี้ครับ 1. เลขประจำตัวประชาชน หรือเลขทะเบียนนิติบุคคล 2. ชื่อผู้ประกอบการ หรือชื่อนิติบุคคล 3. จำนวนรายได้ที่ใช้คิดฐานคำนวณค่านายหน้าและค่าธรรมเนียมการชำระเงิน (พูดง่ายๆ คือ รายได้ทั้งหมดของร้านค้าแต่ละร้าน) 4. ชื่อธนาคารและเลขที่บัญชีธนาคารที่ใช้รับเงินจากแพลตฟอร์มออนไลน์ นั่นแปลว่ากรมสรรพากรจะรู้รายได้ของร้านค้าอย่างละเอียด ทุกบาท ทุกสตางค์ และรู้ว่าร้านค้าชื่ออะไร และใช้บัญชีอะไรในการรับรายได้อีกด้วย พออ่านมาถึงตรงนี้ผู้ประกอบการคงเริ่มขนลุกกันแล้วใช่ไหมละคร๊าบบ ข้อมูลจะถูกส่งให้กรมสรรพากรเมื่อไหร่? กฎหมายฉบับนี้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 เป็นต้นไป นั่นหมายความว่าข้อมูลรายได้ที่ร้านค้าออนไลน์ขายสินค้าหรือให้บริการในแพลตฟอร์มออนไลน์จะเป็นรายได้ตั้งแต่ 1 มกราคม 2567 เป็นต้นไป จนถึงสิ้นรอบบัญชีของแพลตฟอร์มออนไลน์ โดยแพลตฟอร์มออนไลน์ต้องนำส่งข้อมูลดังกล่าวภายใน 150 วันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ตัวอย่าง เช่น แพลตฟอร์มออนไลน์ S จะต้องนำส่งข้อมูลรายได้ของร้านค้าทุกร้านที่ขายบนแพลตฟอร์ม S ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 – 31 ธันวาคม 2567 ให้แก่กรมสรรพากรภายในวันที่ 29 พฤษภาคม 2568 (150 วัน) PEAK ขอเล่า : กฎหมายฉบับนี้จะส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการอย่างไร? เชื่อว่าคำถามนี้หลายคนคงมีคำถามในใจกันแล้ว แต่คำตอบนั้นก็อาจจะไม่ได้เหมือนกัน ส่วนตัวผมคิดว่าเป็นทั้งผลดีและผลเสีย ขึ้นอยู่กับว่าเรากำลังมองในฝั่งไหน เช่น ในมุมของคนที่เสียภาษีอย่างถูกต้องมาโดยตลอด เขาจะเชื่อว่ากฎหมายนี้จะส่งเสริมความเป็นธรรมในการค้าขายมากขึ้น เพราะเดิมคู่แข่งไม่เสียภาษีอย่างถูกต้อง ทำให้คู่แข่งขายสินค้าได้ดีกว่าเพราะมีต้นทุนที่ต่ำกว่า และเกิดกระแสเงินสดที่มากกว่า แต่ในมุมของคนที่เสียภาษีไม่ครบถ้วนหรือหลีกเลี่ยง กฎหมายตัวนี้จะเข้ามาปิดช่องโหว่แทบทุกด้านที่เคยมีอยู่ ทำให้การหลีกเลี่ยงยากมากขึ้น  สุดท้ายนี้กฎหมายฉบับนี้จะบังคับให้ทุกคนทำบัญชี ภาษีได้ถูกต้องมากขึ้น ทางผู้ประกอบการต้องเตรียมพร้อม โดยเริ่มจากเก็บเอกสารให้ครบถ้วน ถูกต้อง หรือหาสำนักงานบัญชีที่น่าเชื่อถือมาช่วยจัดการ รวมถึงการหาโปรแกรมจัดการด้านบัญชีที่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลจากแพลตฟอร์มออนไลน์มาลงบันทึกบัญชีได้แบบเรียลไทม์  ที่ PEAK เรามีพันธมิตรสำนักงานบัญชีมากกว่า 1,200 แห่งทั่วประเทศ พร้อมช่วยดูแลคุณ สนใจ คลิก หรือสนใจโปรแกรมบัญชีออนไลน์ PEAK เพื่อเชื่อมต่อข้อมูลจากแพลตฟอร์ม Shopee Lazada TikTok ทดลองใช้ฟรี 30 วัน คลิก 

24 ม.ค. 2024

PEAK Account

12 min

เช็กลิสต์มาตรการรัฐ สร้างการเติบโตของธุรกิจในยุคดิจิทัล

เมื่อโลกเปลี่ยน เทคโนโลยีเปลี่ยน การดำเนินธุรกิจในปัจจุบันก็ต้องมีการปรับตัวให้รองรับกับความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว เช่น เรื่องช่องทางการขาย การชำระเงิน การจัดการบัญชี ภาษีต่างๆ ก็มีการนำเครื่องมือต่างๆ เข้ามาช่วยสร้างการทำงานในรูปแบบดิจิทัลมากขึ้น โดยรัฐบาลเองมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาทางเศรษฐกิจด้านดิจิทัลอย่างเป็นระบบ ดังตัวอย่างของมาตรการภาครัฐต่อไปนี้ที่จะช่วยส่งเสริมการดำเนินธุรกิจในยุคดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ e-Payment ชำระเงิน สะดวก รวดเร็ว ทุกที่ ทุกเวลา ทุกธุรกิจ    ระบบการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์มาตรการภาครัฐที่พัฒนาขึ้นเพื่อให้มีระบบรองรับการชำระเงินทางออนไลน์ที่ได้มาตรฐาน สอดคล้องกับการใช้งานเทคโนโลยีที่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์จะช่วยลดความซับซ้อนในกระบวนการการเงินและทำให้เกิดประสิทธิภาพในการทำธุรกรรม โดยเฉพาะในส่วนของผู้ประกอบการที่นำระบบ e-Payment มาใช้ในธุรกิจ นอกจากจะเป็นการเพิ่มความสะดวกสบายแก่ลูกค้าแล้ว ยังเสริมสร้างประสิทธิภาพในการบริหารจัดการการเงินของธุรกิจได้เป็นอย่างดีอีกด้วย  สำหรับเงื่อนไขของกฎหมายภาษี  e-Payment เป็นสิ่งที่เจ้าของกิจการ ร้านค้าต่างๆ ควรศึกษารายละเอียดอย่างแม่นยำ เพื่อการปฏิบัติทางกฎหมายที่ถูกต้อง ได้แก่ พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 48) พ.ศ. 2562 ที่มีสาระสำคัญคือการกำหนดให้สถาบันการเงิน และผู้ให้บริการทางการเงินอิเล็กทรอนิกส์ e-wallet ต้องรายงานข้อมูลผู้มีบัญชีธุรกรรมเฉพาะให้กรมสรรพากร ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา นิติบุคคล โดยมีเงื่อนไขดังนี้       e-Tax Invoice ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ตอบโจทย์ธุรกิจในยุคดิจิทัล e-Tax Invoice หรือใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ เป็นมาตรการภาครัฐในการออกใบกํากับภาษีในรูปแบบใหม่ที่กรมสรรพากรได้พัฒนาขึ้นมาใช้แทนการออกใบกำกับภาษีแบบกระดาษ โดยจะปรับเปลี่ยนข้อมูลทั้งหมดเป็นในรูปแบบของอิเล็กทรอนิกส์ผ่านทางระบบออนไลน์ ซึ่งจะช่วยให้เจ้าของธุรกิจสามารถส่งข้อมูลใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ถึงกรมสรรพากรได้อย่างสะดวกรวดเร็วผ่านช่องทางอีเมล หรือเว็บไซต์กรมสรรพากรได้ในทันท่วงที ไม่ต้องจัดเตรียม และรวบรวมใบกํากับภาษีแบบกระดาษอีกต่อไป นอกจากนั้นการจัดทำใบกำกับภาษีอยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ยังมีประโยชน์ต่อเจ้าของธุรกิจอีกหลายประการ ได้แก่ การลดต้นทุนแฝงอย่างเช่น ค่ากระดาษ ค่าหมึกพิมพ์ ค่าจัดส่ง ค่าจัดเก็บใบกำกับภาษี การป้องกันเอกสารสูญหายหรือได้รับความเสียหาย นอกจากนั้น e-Tax Invoice ยังรองรับสิทธิประโยชน์จากทางภาครัฐ อย่างโครงการ การช้อปดีมีคืนในปี 2566 และล่าสุดกับโครงการ Easy E-Receipt เป็นต้น โดย e-Tax Invoice นั้นแบ่งออกได้เป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ 1. e-Tax Invoice by Time Stamp เป็นระบบการจัดทำใบกำกับภาษีโดยการประทับรับรองเวลา (Time Stamp) เกิดขึ้นจากความร่วมมือของกรมสรรพากรกับสำนักงานพัฒนาธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (สรอ.) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่มีรายได้ ไม่เกิน 30 ล้านบาทต่อปี หรือมีการออกใบกำกับภาษีจำนวนไม่มาก ได้ตระหนักถึงความสะดวกของการออกและใช้งานใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนสำหรับผู้ประกอบการที่จะพัฒนาไปสู่ระบบการออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์อย่างสมบูรณ์แบบในอนาคต  2. e-Tax Invoice & e-Receipt เป็นระบบที่กรมสรรพากรพัฒนาขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ให้ผู้ประกอบการจัดทำใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้ และใบเสร็จรับเงินในรููปแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่มีการลงลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) ส่งมอบให้ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการด้วยช่องทางทางอิเล็กทรอนิกส์ตามที่ตกลงกัน รวมถึงการนำส่งข้อมูลให้กรมสรรพากรผ่านช่องทางที่กรมสรรพากรกำหนดด้วย Easy E-Receipt  โอกาสสำหรับผู้ประกอบการในยุคดิจิทัล Easy E-Receipt คือ โครงการลดหย่อนภาษีประจำปี 2567 ที่กรมสรรพากรกำหนดให้ผู้มีเงินได้บุคคลธรรมดาสามารถนำใบกำกับภาษีในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือที่เรียกกันว่า e-Tax Invoice และ e-Receipt ที่ได้รับจากการซื้อสินค้าและบริการจากร้านค้าที่จดทะเบียนในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อใช้ลดหย่อนภาษีในปีภาษี 2567 โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 15 กุมภาพันธ์ 2567 โดยมีเงื่อนไขการใช้จ่ายดังต่อไปนี้ 1. ต้องเป็นผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 2. ซื้อสินค้าและบริการจากผู้ประกอบการจดทะเบียน VAT ที่ออกใบกำกับภาษีเต็มรูปในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) ผ่านระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt ของกรมสรรพากรเท่านั้น 3. ลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ตามจริง จำนวนไม่เกิน 50,000 บาท นับเป็นโอกาสดีอย่างยิ่งสำหรับผู้ประกอบการจดทะเบียนในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มที่สามารถออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ที่จะสร้างการขายสินค้าและบริการตามที่โครงการกำหนด 2 มาตรการภาษี  โอกาสดีๆ สำหรับผู้ประกอบการ เป็นการขยายเวลาต่อเนื่องสำหรับมาตรการภาครัฐที่กำหนดขึ้นเพื่อส่งเสริมการลงทุนในระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์และส่งเสริมการใช้ระบบภาษีหัก ณ ที่จ่ายอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการลงทุนในระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สามารถหักรายจ่ายการลงทุนในระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt และระบบ e-Withholding Tax รวมถึงหักรายจ่ายค่าบริการระบบดังกล่าวได้ 2 เท่าของรายจ่ายที่จ่ายจริง ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 – 31 ธันวาคม 2568  มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการใช้ระบบภาษีหัก ณ ที่จ่ายอิเล็กทรอนิกส์ (e-Withholding Tax) สำหรับการจ่ายเงินได้พึงประเมินผ่านระบบ e-Withholding Tax ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 -31 ธันวาคม 2568” จะมีการลดอัตราภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย เหลืออัตราร้อยละ 1 ทั้ง 2 มาตรการดังกล่าวจะเป็นการช่วยเหลือผู้ประกอบการในการลดต้นทุนในการจัดทำและการจัดเก็บเอกสาร รวมทั้งยังช่วยให้ผู้ประกอบการมีกระแสเงินสดเพิ่มขึ้นในช่วงระยะเวลาดำเนินมาตรการลดอัตราภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายได้อีกด้วย PromptBiz  ตอบโจทย์ธุรกิจดิจิทัล สร้างระบบการทำงานแบบมืออาชีพ PromptBiz คือ โครงสร้างพื้นฐานการชำระเงินกลางสำหรับภาคธุรกิจ ทำให้เกิดการทำธุรกิจแบบดิจิทัลที่สามารถข้ามธนาคารได้อย่างครบวงจร โดยจะมีการเชื่อมโยงข้อมูลการค้าและการชำระเงิน ตั้งแต่ข้อมูลใบแจ้งหนี้ การวางบิล การชำระเงิน จนถึงการออกใบเสร็จ โดย PromptBiz จะมีบริการ 2 ด้านสำคัญ ได้แก่ บริการด้านการค้าและการชำระเงิน และบริการด้านสินเชื่อ PromptBiz จะเปลี่ยนเอกสารทางการค้าจากรูปแบบกระดาษมาเป็นเอกสารดิจิทัลในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การวางบิล รับวางบิล ตรวจสอบความถูกต้อง และชำระเงินผ่านแพลตฟอร์ม พร้อมจัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ ครอบคลุมไปถึงการทำรายการหักและนำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่ายอัตโนมัติ  ขณะเดียวกันระบบ PromptBiz จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำธุรกิจ พัฒนากระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น  ช่วยเพิ่มโอกาสการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของ SMEs ได้เป็นอย่างดี

23 ม.ค. 2024

PEAK Account

9 min

มาตรการ  Easy E-Receipt 2567 สิทธิลดหย่อนภาษีสำหรับลูกค้า โอกาสสำหรับผู้ประกอบการในยุคดิจิทัล

กลับมาอีกครั้ง สำหรับมาตรการดีๆ จากทางภาครัฐที่นอกจากจะช่วยในเรื่องของการลดหย่อนภาษีแล้ว ยังเป็นการสนับสนุนผู้ประกอบการที่อยู่ในระบบภาษีให้ใช้ระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์อีกด้วย กับโครงการที่มีชื่อว่า Easy E-Receipt มาตรการนี้มีรายละเอียดเงื่อนไขอย่างไร บทความนี้มีคำตอบ Easy E-Receipt คืออะไร Easy e-Receipt คือ โครงการลดหย่อนภาษีประจำปี 2567 ที่กรมสรรพากรกำหนดให้ผู้มีเงินได้บุคคลธรรมดาสามารถนำใบกำกับภาษีในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือที่เรียกกันว่า e-Tax Invoice และ e-Receipt ที่ได้รับจากการซื้อสินค้าและบริการจากร้านค้าที่จดทะเบียนในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อใช้ลดหย่อนภาษีในปีภาษี 2567 โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 15 กุมภาพันธ์ 2567 โดยมีเงื่อนไขการใช้จ่ายดังต่อไปนี้ 1. ต้องเป็นผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 2. ซื้อสินค้าและบริการจากผู้ประกอบการจดทะเบียน VAT ที่ออกใบกำกับภาษีเต็มรูปในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) ผ่านระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt ของกรมสรรพากรเท่านั้น 3. ลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ตามจริง จำนวนไม่เกิน 50,000 บาท e-Tax Invoice คืออะไร? e-Tax Invoice หรือใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งนำมาใช้ทดแทนใบกำกับภาษีแบบกระดาษ กล่าวง่ายๆ คือ การเปลี่ยนจากรูปแบบกระดาษให้อยู่ในรูปแบบออนไลน์แทนนั่นเอง แม้จะแตกต่างกันในเรื่องรูปร่างเอกสารที่เปลี่ยนไป แต่ยังคงใช้สิทธิ์ทางภาษีได้เช่นเดียวกับรูปแบบกระดาษ โดย e-Tax Invoice จะต้องจัดทำข้อความขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และลงลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) หรือได้มีการประทับรับรองเวลา (Time Stamp) เพื่อนำส่งให้กับผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ ตลอดจนนำส่งข้อมูลให้กับกรมสรรพากรผ่านช่องทางออนไลน์ สำหรับใครที่สนใจอยากรู้รายละเอียดของระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) สามารถติดตามอ่านได้ที่บทความ เรื่องต้องรู้ เกี่ยวกับ e-Tax e-Tax Invoice & e-Receipt คืออะไร? e-Tax Invoice & e-Receipt เป็นการจัดทำใบกำกับภาษี รวมถึงใบกำกับภาษีอย่างย่อ ใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้ และใบรับที่ได้มีการจัดทำข้อความขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ต้องมีการลงลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) ส่งมอบให้ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ และนำส่งข้อมูลให้กรมสรรพากร สำหรับใครที่สนใจอยากรู้รายละเอียดของ e-Tax Invoice & e-Receipt  สามารถติดตามอ่านได้ที่บทความ e-Tax Invoice & e-Receipt คืออะไร สินค้าที่สามารถลดหย่อนภาษีจากโครงการ Easy E-Receipt ได้ ในการซื้อสินค้าเพื่อนำมาใช้ลดหย่อนภาษีในโครงการ Easy E-Receipt นั้น ต้องเลือกซื้อให้ถูกต้องตามข้อกำหนดของโครงการ เนื่องจากมีสินค้าบางประเภทที่ไม่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ ซึ่งสินค้าที่สามารถนำมาใช้ลดหย่อนภาษีได้นั้น จะมีลักษณะดังต่อไปนี้ ส่วนสินค้าที่ไม่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีจากโครงการ Easy-E-Receipt ได้ ประกอบด้วย ผู้ที่สามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีจากโครงการ Easy E-Receipt ผู้ที่สามารถใช้สิทธิ์ซื้อสินค้านำมาลดหย่อนภาษีจากโครงการ Easy e-Receipt นั้นต้องผู้มีเงินได้ ที่เป็นบุคคลธรรมดาเท่านั้น โดยการลดหย่อนจะเป็นการลดหย่อนจากจำนวนเงินได้พึงประเมินสุทธิ ที่ต้องนำไปคำนวณร่วมกับฐานภาษีแบบขั้นบันได ดังตัวอย่างอัตราลดหย่อนสูงสุดของรายได้ต่อไปนี้ การตรวจสอบร้านค้าที่สามารถออก e-Tax Invoice & e-Receipt ได้ ก่อนที่เราจะเลือกซื้อสินค้าและบริการ เราสามารถตรวจสอบรายชื่อผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่สามารถออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ได้โดยการนำเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรไปค้นหาผ่านระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt ของกรมสรรพากร nbsp; ก็จะได้ข้อมูลร้านค้าตามต้องการ โครงการ Easy E-Receipt ไม่เพียงช่วยให้ผู้สินค้าและบริการมาใช้สิทธิ์ในการลดหย่อนทางภาษีได้เท่านั้น หากแต่ยังสร้างโอกาสทางการขายให้กับผู้ประกอบการ ร้านค้าต่างๆ อีกด้วย เพียงจดทะเบียนในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม และสามารถออกใบกำกับภาษีเต็มรูปในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านระบบ e-Tax Invoice และ e-Receipt ของกรมสรรพากรได้ ก็จะสามารถเข้าร่วมโครงการ  Easy E-Receip นี้ PEAK ช่วยผู้ประกอบการให้สามารถออกเอกสารใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) ได้ทั้ง 2 รูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น e-Tax Invoice by Time Stamp หรือ e-Tax Invoice & e-Receipt เพียงแค่คลิกเชื่อมต่อกับ PEAK หลังจากนี้คุณก็สามารถออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ได้ง่ายๆ ถ้าอยากรู้ว่าง่ายขนาดไหน แนะนำให้ลองดูวิดีโอสั้นๆ การเชื่อมต่อระบบและวิธีการส่งใบกำกับใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) ได้เลย

18 ม.ค. 2024

จักรพงษ์

11 min

e-Tax Invoice & e-Receipt คืออะไร

หลังจากที่เราได้ทำความรู้จักกับ e-Tax Invoice และ e-Tax Invoice by Time Stamp จากบทความ เรื่องต้องรู้ เกี่ยวกับ e-Tax Invoice และ e-Tax Invoice by Time Stamp คืออะไร กันมาแล้ว ในบทความนี้เราจะมาทำความรู้จักกับ e-Tax Invoice อีกหนึ่งประเภทว่าคืออะไร และธุรกิจประเภทใดที่ควรเข้าร่วมโครงการ e-Tax Invoice ประเภทนี้ สำหรับคนที่เข้ามาอ่านบทความนี้ต่อ ผมเชื่อว่าธุรกิจของคุณมีความพร้อมทางด้านระบบงาน มีการออกใบกำกับภาษีหรือใบเสร็จรับเงินจำนวนมาก และพร้อมเปลี่ยนธุรกิจเข้าสู่โลกดิจิทัล นับจากนี้เรามาทำความรู้จักโครงการ e-Tax Invoice & e-Receipt ในเชิงลึกกันต่อเลยครับ e-Tax Invoice & e-Receipt คืออะไร? โครงการ e-Tax Invoice & e-Receipt เป็นการจัดทำใบกำกับภาษี รวมถึงใบกำกับภาษีอย่างย่อ  ใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้ และใบรับที่ได้มีการจัดทำข้อความขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ที่ต้องมีการลงลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) ส่งมอบให้ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ และมีหน้าที่นำส่งข้อมูลให้กรมสรรพากร 5 เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่ e-Tax Invoice & e-Receipt ออกได้ ไม่เพียงแต่ใบกำกับภาษีเท่านั้นที่สามารถเปลี่ยนมาเป็นรูปแบบออนไลน์ได้ กรมสรรพากรยังได้อนุมัติเอกสารอื่นๆ ด้วยเช่นกัน ได้แก่ 1. ใบกำกับภาษี (เต็มรูป) ตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร 2. ใบกำกับภาษี (อย่างย่อ) ตามมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร 3. ใบเพิ่มหนี้ (Debit Note) ตามมาตรา 86/9 แห่งประมวลรัษฎากร 4. ใบลดหนี้ (Credit Note) ตามมาตรา 86/10 แห่งประมวลรัษฎากร 5. ใบรับ (ใบเสร็จรับเงิน) ตามมาตรา 105 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร คุณสมบัติของผู้ประกอบการที่ขอจัดทำ e-Tax Invoice & e-Receipt มีดังต่อไปนี้ 1. เป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม 2. มีใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Certificate) ที่อยู่ภายใต้การรับรองของผู้ให้บริการออกใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (NRCA) และสำนักงานพัฒนาธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA) 3. มีระบบการควบคุมภายในที่ดี สามารถพิสูจน์ได้ว่าใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ที่จัดทำและนำส่งให้แก่ผู้รับมีความถูกต้องครบถ้วนโดยใช้วิธีการที่เชื่อถือได้ 4. ต้องไม่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ได้รับอนุมัติหรืออยู่ระหว่างการพิจารณาอนุมัติโครงการใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice by Time Stamp) ขั้นตอนการทำงานของระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt 1. จัดทำข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามรูปแบบที่กำหนดในรูปแบบ XML หรือรูปแบบอื่นที่ลงลายมือชื่อดิจิทัล 2. ส่งมอบให้ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ 3. นำส่งข้อมูลให้กรมสรรพากร ด้วยวิธีต่างๆ 3 วิธี ดังต่อไปนี้ 3.1 Web upload เป็นการส่งข้อมูลให้กับสรรพากร โดยการอัปโหลดเอกสารในรูปแบบ XML ให้แก่กรมสรรพากรผ่านทางเว็บไซต์ etax.rd.go.th 3.2 Service provider เป็นการเลือกใช้บริการส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์กับผู้ให้บริการส่งข้อมูลที่กรมสรรพากรรับรอง 3.3 Host to host สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการส่งข้อมูลจำนวนมาก (ไม่น้อยกว่า 500,000 ฉบับ/เดือน) และอยู่ในการกำกับดูแลของกองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ ขั้นตอนการสมัคร e-Tax Invoice & e-Receipt 1. จัดหาใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Certificate) จากผู้ให้บริการออกใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ ปัจจุบันมีผู้ให้บริการ 2 ราย ได้แก่ บริษัท ไทยดิจิทัล ไอดี จำกัด (www.thaidigitalid.com) และบริษัท อินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด (มหาชน) ( ) ทั้งนี้ใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ต้องจัดเก็บด้วยอุปกรณ์ USB Token หรือ HSM และการเลือกใช้อุปกรณ์ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม และลักษณะการใช้งานของผู้ประกอบการแต่ละราย 2. ดาวน์โหลดและติดตั้งโปรแกรม Ultimate Sign&View ไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์  3. เชื่อมต่ออุปกรณ์ Token หรือ HSM ที่มีใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์และตั้งค่าโปรแกรม 4. ลงทะเบียน บ.อ.01 ผ่านโปรแกรมฯ โดยระบุเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร ระบบจะแสดงชื่อสถานประกอบการและที่ตั้งสำนักงาน ให้ตรวจสอบข้อมูล ระบุอีเมลที่ใช้ในการติดต่อกรมสรรพากร และลงลายมือชื่อเพื่อยืนยันการลงทะเบียน 5. ตรวจสอบอีเมล และสร้างบัญชีผู้ใช้งานประเภทผู้ประกอบการ (Corporate) และกำหนดรหัสผ่าน (Password) ด้วยตนเอง 6. เข้าสู่ระบบบริการสมาชิก ที่เว็บไซต์ 7. เมื่อได้รับอนุมัติตามคำขอ บ.อ.01 แล้วระบบจะสร้างบัญชีผู้ใช้งานประเภท ผู้ประกอบการ(Corporate) ในนามของสำนักงานใหญ่ ที่ขึ้นต้นด้วย CA ตามด้วยเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร13 หลัก ซึ่งผู้ประกอบการสามารถสร้างบัญชีผู้ใช้งาน และกำหนดสิทธิ์ผู้ใช้งานภายในองค์กรได้ตามประเภทผู้ใช้งาน 8. จากนั้น ท่านสามารถออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ e-Tax Invoice & e-Receipt ได้แล้ว ซึ่งขั้นตอนการยื่นคำขอใช้ระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt สามารถสรุปเป็นแผนภาพง่ายๆ ได้ดังนี้ จากขั้นตอนการสมัครจะบางท่านจะคิดว่าขั้นตอนกระบวนการดูยุ่งยากและซับซ้อน แต่ในกรณีที่ผู้ประกอบการเลือกใช้บริการผ่าน Service provide ทาง Service provide จะมีบริการช่วยทำตั้งแต่ขั้นตอนการของการจัดหาใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Certificate) การสมัครเข้าโครงการ e-Tax Invoice และ e-Receipt ทำให้ผู้ประกอบการไม่ต้องกังวลกับเรื่องเหล่านี้ และสามารถออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ได้เลยครับ ขั้นตอนการเชื่อมต่อ e-Tax Invoice & e-Receipt กับโปรแกรม PEAK ปัจจุบัน PEAK สามารถเชื่อมต่อกับผู้ให้บริการ(Service provide) e-Tax Invoice & e-Receipt ถึง 2 ราย ได้แก่ 1) บมจ. อินเทอร์เน็ตประเทศไทย (INET), สนใจอ่านวิธีเชื่อมต่อกับ INET เพิ่มเติมได้ที่นี่ 2) บจ. ฟรีเวชั่น จำกัด (Leceipt), สนใจอ่านวิธีเชื่อมต่อกับ Leceipt เพิ่มเติมได้ที่นี่ นอกจากผู้ให้บริการ e-Tax Invoice & e-Receipt จะช่วยคุณตั้งแต่การสมัครและขอใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์แล้ว PEAK ยังช่วยทำให้การส่งออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ไปยังคู่ค้าได้ง่ายๆ เพียงไม่กี่คลิกครับ PEAK ขอเล่า : การออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) ทั้ง 2 รูปแบบ ทั้ง e-Tax Invoice by Time Stamp และ e-Tax Invoice & e-Receipt จะสร้างความสะดวก ลดปัญหาในการจัดเก็บเอกสารทั้งกับกิจการ ร้านค้า และผู้ซื้อ นอกจากนั้นยังรองรับสิทธิประโยชน์จากมาตรการภาครัฐในอนาคตอีกหลายๆ มาตรการ เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ผู้ประกอบการในยุคดิจิทัลไม่ควรพลาด สำหรับใครที่สนใจอยากรู้รายละเอียดระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) ที่เหลืออีกหนึ่งโครงการ นั่นคือ โครงการ e-Tax Invoice & e-Receipt ตามไปอ่านกันต่อได้ที่บทความ e-Tax Invoice & e-Receipt คืออะไร ขั้นตอนการสมัคร และการใช้งาน PEAK ช่วยผู้ประกอบการให้สามารถออกเอกสารใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) ได้ทั้ง 2 รูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น e-Tax Invoice by Time Stamp หรือ e-Tax Invoice & e-Receipt เพียงแค่คลิกเชื่อมต่อกับ PEAK หลังจากนี้คุณก็สามารถออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ได้ง่ายๆ ผ่านโปรแกรม PEAK ได้แล้วครับ ถ้าอยากรู้ว่าง่ายขนาดไหน แนะนำให้ลองดูวิดีโอสั้นๆ การเชื่อมต่อระบบและวิธีการส่งใบกำกับใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) ได้เลยครับ ออกเอกสารง่ายในไม่กี่คลิก

17 ม.ค. 2024

จักรพงษ์

9 min

e-Tax Invoice by Time Stamp คืออะไร

จากบทความ เรื่องต้องรู้ เกี่ยวกับ e-Tax Invoice ผู้ประกอบการคงรู้กันแล้วว่าใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) ก็คือ การเปลี่ยนใบกำกับภาษีแบบกระดาษมาเป็นแบบออนไลน์ผ่านวิธีที่กรมสรรพากรรองรับ แต่สำหรับใครที่สนใจจะเข้าร่วมโครงการนี้ก็ต้องเลือกต่อว่าโครงการใดที่เหมาะสมกับลักษณะของธุรกิจของเรา ระหว่าง e-Tax Invoice by Time Stamp และ e-Tax Invoice & e-Receipt สำหรับในบทความนี้ เราจะมาพูดถึง e-Tax Invoice by Time Stamp กันครับว่ามีรายละเอียดเป็นอย่างไร และมีความน่าสนใจอย่างไรบ้าง e-Tax Invoice by Time Stamp คืออะไร? e-Tax Invoice by Time Stamp (ชื่อเดิม e-Tax Invoice by Email) เป็นการจัดทำใบกำกับภาษีโดยการส่งอีเมลถึงผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ พร้อมสำเนา CC ไปยังระบบของสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.หรือ ETDA) เพื่อให้ระบบประทับรับรองเวลา (Time Stamp) และระบบจะส่งใบกำกับภาษีที่ประทับรับรองเวลาแล้วให้กับผู้ซื้อและผู้ขายเพื่อเป็นหลักฐานในการทำธุรกรรม 3 เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่ออก e-Tax Invoice by Time Stamp ได้ นอกจากใบกำกับภาษีเท่านั้นที่สามารถเปลี่ยนมาเป็นรูปแบบออนไลน์ได้แล้ว กรมสรรพากรยังได้อนุมัติเอกสารอื่นๆ ด้วยเช่นกัน ได้แก่ คุณสมบัติของผู้ประกอบการที่ขอจัดทำ e-Tax Invoice by Time Stamp ผู้ประกอบการที่ต้องการขอจัดทำ e-Tax Invoice by Time Stamp จะต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ ขั้นตอนการทำงานระบบ e-Tax Invoice by Time Stamp การยื่นคำขอใช้ระบบ e-Tax Invoice by Time Stamp ขั้นตอนการเชื่อมต่อ e-Tax Invoice by Time Stamp กับโปรแกรม PEAK หลังจากที่ผู้ประกอบการได้รับอีเมลที่ได้ลงทะเบียนกับทางกรมสรรพากรแล้ว สามารถใช้อีเมลดังกล่าวมากรอกและกดเชื่อมต่อการออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) กับ PEAK ได้ทันทีง่ายๆ เพียงไม่กี่คลิก ซึ่งสามารถติดตามขั้นตอนการเชื่อมต่อและจัดส่งใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มเติมได้ที่บทความ การเชื่อมต่อและวิธีจัดส่งใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์แบบ e-Tax Invoice by Time Stamp PEAK ขอเล่า : สำหรับใครที่สนใจอยากรู้รายละเอียดระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) ที่เหลืออีกหนึ่งโครงการ นั่นคือ โครงการ e-Tax Invoice & e-Receipt ตามไปอ่านกันต่อได้ที่บทความ e-Tax Invoice & e-Receipt คืออะไร PEAK ช่วยผู้ประกอบการให้สามารถออกเอกสารใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) ได้ทั้ง 2 รูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น e-Tax Invoice by Time Stamp หรือ e-Tax Invoice & e-Receipt เพียงแค่คลิกเชื่อมต่อกับ PEAK หลังจากนี้คุณก็สามารถออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ได้ง่ายๆ ผ่านโปรแกรม PEAK ได้แล้วครับ ถ้าอยากรู้ว่าง่ายขนาดไหน แนะนำให้ลองดูวิดีโอสั้นๆ การเชื่อมต่อระบบและวิธีการส่งใบกำกับใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) ได้เลยครับ ออกเอกสารง่ายในไม่กี่คลิก

17 ม.ค. 2024

PEAK Account

2 min

ส่งใบลดหนี้/ใบกำกับภาษี ผ่านระบบ e-Tax Invoice

ถ้าทางกิจการมีการเชื่อมต่อการส่ง e-Tax Invoice ที่โปรแกรม PEAK เรียบร้อยแล้ว ผู้ใช้งานสามารถที่จะส่งเอกสาร ใบลดหนี้ ผ่านระบบ e-Tax Invoice ได้โดยเอกสารใบลดหนี้ที่สามารถส่ง e-Tax Invoice ได้นั้น จะต้องเป็น ใบลดหนี้/ใบกำกับภาษีผู้ใช้งานสามารถทำตามขั้นตอนต่อไปนี้ ขั้นตอนที่ 1: ไปที่เอกสารใบลดหนี้/ใบกำกับภาษี ที่ต้องการส่งใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์กดคลิกเครื่องหมาย Drop Down ที่ปุ่ม ส่งเอกสาร >> เลือก e-Tax Invoice ขั้นตอนที่ 2: ขั้นตอนการส่งใบกำกับภาษีอิเล็กจะแบ่งเป็น 2 แบบ แบบที่ 1: ใช้ระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt ผ่าน INET แบบที่ 2: ใช้ระบบ e-Tax Invoice by Email หมายเหตุ: เอกสารใบลดหนี้ที่ต้องการส่งแบบอิเล็กทรอนิกส์ จะต้องเป็นเอกสารฉบับใบลดหนี้แบบอ้างอิงเท่านั้น – จบขั้นตอนการส่งเอกสารใบลดหนี้ e-Tax invoice –