biz-loans-opportunities-for-SMEs

เมื่อพูดถึงการกู้เงินทำธุรกิจหลายคนอาจนึกถึงธุรกิจที่เพิ่งเริ่มก่อตั้ง หรืออาจมองไปว่าบริษัทที่ต้องกู้เงินคงแปลว่ากิจการไม่ค่อยดีเท่าไหร่ แต่รู้หรือไม่ว่าการกู้เงินมาทำธุรกิจไม่ได้เป็นเรื่องของธุรกิจใหม่ หรือธุรกิจที่ขาดทุนใกล้เจ๊งเท่านั้น แต่อันที่จริงแล้วบริษัทที่กิจการดีจนได้ขยายธุรกิจหลายเจ้าก็ได้โอกาสมาจากการหาแหล่งเงินทุนในรูปแบบการกู้ยืมเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการขอสินเชื่อธุรกิจ การออกหุ้นกู้ หรือการระดมทุนออนไลน์

เป้าหมายยอดนิยมอันดับหนึ่งของธุรกิจที่ต้องการหาแหล่งเงินทุน เพราะเงินทุนหมุนเวียน หรือ “เงินหมุน” คือเส้นเลือดหล่อเลี้ยงธุรกิจ หากผู้ประกอบการมีเงินทุนหมุนเวียนเพิ่มขึ้นจะสามารถพัฒนาธุรกิจไปได้อย่างไรบ้าง เราขอยกตัวอย่างให้ดู

1.เพิ่มโอกาสทางธุรกิจด้วยการให้เครดิตเทอมที่ดึงดูดลูกค้า

“ส่งงานแล้ว แต่ลูกค้ายังไม่จ่ายเงินสักที” เมื่อลูกค้าเจ้าเก่ายังไม่จ่ายเงิน ผู้ประกอบการก็ขาดเงินหมุนไปเป็นต้นทุนสำหรับรับงานใหม่ 
ผู้ประกอบการที่มักประสบปัญหานี้หนักกว่าใครก็คือเจ้าของธุรกิจแบบ B2B หรือธุรกิจที่ขายสินค้าล็อตใหญ่ ให้บริการเป็นโครงการกับลูกค้าธุรกิจอื่น ๆ หรือแม้แต่เจ้าของแบรนด์ที่นำสินค้าไปฝากวางขายตามห้างใหญ่ กว่าผู้ประกอบการจะได้รับเงินอาจกินเวลาเป็นเดือน ๆ หลังส่งมอบสินค้า

วงจรเงินทุนหมุนเวียนในธุรกิจ

การมีเงินทุนเพิ่มจะช่วยเพิ่มโอกาสทางธุรกิจในกรณีนี้ได้อย่างไร เราขอยกตัวอย่างแบบนี้

“ไทยทัวร์” เป็นธุรกิจนำเที่ยว ได้รับความสนใจจากบริษัทยักษ์ใหญ่ OA ให้จัดทริปพาพนักงานทั้งบริษัทไปท่องเที่ยวประจำปี เป็นโครงการใหญ่มูลค่า 20 ล้านบาท เครดิตเทอม 60 วัน 

ไทยทัวร์มีต้นทุนที่ต้องจ่ายค่าจองที่พัก ค่าเดินทาง ค่าอาหาร  ฯลฯ รวมทั้งหมด 12 ล้านบาทที่ต้องจ่ายไปก่อน แต่กว่าลูกค้าจะชำระเงินคือ 60 วันหลังจบทริป นั่นหมายความว่าในช่วงนี้เงินทุนหมุนเวียนของไทยทัวร์จะหายไป 12 ล้านบาท

สมมติว่าระหว่างรอรับเงินจากบริษัท OA ไทยทัวร์ได้งานใหญ่อีกครั้ง มูลค่า 20 ล้านบาท แต่ต้องมีต้นทุน 12 ล้านบาทเช่นเดิม เท่ากับว่าไทยทัวร์ต้องมีเงินหมุนในมืออย่างน้อย 24 ล้านบาท จึงจะสามารถรับทั้ง 2 งานนี้ได้ โดยคาดว่าจะได้กำไรโครงการละ 20-12 = 8 ล้านบาท 

แต่ถ้าไทยทัวร์มีเงินหมุนไม่ถึง 24 ล้าน ก็ไม่สามารถรับงานโครงการที่ 2 ได้ กำไรจะหายไปทันที 8 ล้านบาท

ไทยทัวร์สามารถออกหุ้นกู้กับ PeerPower โดยใช้ invoice ที่เรียกเก็บจากบริษัท OA จำนวน 20 ล้านบาทเป็นหลักฐาน ออกหุ้นกู้ระยะเวลา 2 เดือนด้วยดอกเบี้ย (สมมติว่า) ประมาณ 12% ต่อปี นั่นหมายความว่าในระยะ 2 เดือนนี้ไทยทัวร์จะเสียดอกเบี้ย 2% คิดเป็นเงิน 4 แสนบาท แต่จะทำกำไรได้เพิ่ม 8 ล้านบาท เมื่อหักลบกันแล้วก็ยังได้กำไรเพิ่มอยู่ 7.6 ล้านบาท

ตัวอย่างการให้เครดิตเทอม PeerPower

2. เพิ่มสต๊อกสินค้าเพื่อเตรียมรับโอกาส

เมื่อผู้ประกอบการคาดว่าจะมีลูกค้าสั่งสินค้าเข้ามามากขึ้น แต่ธุรกิจไม่มีเงินหมุนเพียงพอที่จะสั่งสินค้ามาเก็บในสต็อกให้พอขาย หรือมีคำสั่งซื้อจากลูกค้าเข้ามาแล้ว แต่ขาดต้นทุนการผลิตทำให้ต้องพลาดโอกาสการขายไป
ในกรณีนี้ การหาเงินทุนมาเพิ่มให้พอกับการสต็อกสินค้าจึงเป็นทางออกที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการไม่ต้องพลาดโอกาสทางธุรกิจ ถึงแม้ว่าจะต้องมีค่าใช้จ่ายในการหาเงินทุน (เช่น มีดอกเบี้ยเงินกู้) แต่หากลองคำนวณดู เมื่อหักลบกับยอดขายที่จะทำได้เพิ่มขึ้นแล้วยังอาจคุ้มกับการลงทุนก็ได้

3.นำเงินทุนไปลดต้นทุน ได้ดังนี้

  • เพิ่มเงินทุนไปสั่งของล็อตใหญ่ : การซื้อวัตถุดิบมาผลิตสินค้าทีละล็อตใหญ่ย่อมได้ราคาถูกกว่าซื้อทีละเล็กละน้อย ตราบใดที่ผู้ประกอบการสามารถคาดเดาได้ว่าแต่ละช่วงจะมีคำสั่งซื้อเข้ามาเท่าไหร่ การซื้อวัตถุดิบมาเตรียมไว้ก่อนจะช่วยประหยัดต้นทุนไปได้ 
  • นำเงินทุนไปจ่ายผู้ผลิตเร็วขึ้นเพื่อรับส่วนลด : ข้อนี้จะมองว่าเป็นด้านกลับของการให้เครดิตเทอมยาว ๆ กับลูกค้าก็ได้ ขณะที่ในมุมคนซื้อเราต้องการจ่ายเงินออกให้ช้าที่สุด แต่คู่ค้าที่เป็นผู้ผลิตหรือจัดหาวัตถุดิบให้เราก็อยากได้เงินเร็วเช่นกัน เมื่อเข้าใจแบบนี้ ผู้ประกอบการอาจสามารถเจรจากับคู่ค้าได้ว่าหากชำระเงินเร็วขึ้นจะได้รับส่วนลดเท่าไหร่ ส่วนลดที่ได้นั้นอาจมากกว่าดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายในการหาเงินทุน

เราขอยกตัวอย่างแบบนี้ ร้าน “สวีทเบเกอรี” ซื้อวัตถุดิบพวกแป้ง น้ำตาล ช็อกโกแลต มีค่าใช้จ่าย 10 ล้านบาท ใช้ผลิตขนมได้นาน 1 เดือน

แต่ถ้าสวีทเบเกอรีซื้อวัตถุดิบชนิดเดียวกันนี้แบบล็อตใหญ่ปริมาณเยอะกว่าเดิม 3 เท่า จะได้ส่วนลด 20% รวมเป็นค่าใช้จ่าย 24 ล้านบาท ใช้ผลิตขนมได้นาน 3 เดือน เท่ากับว่าได้กำไรเพิ่มตั้ง 20% หรือ 6 ล้านบาท โดยไม่ต้องขึ้นราคาขาย ไม่ต้องเปลี่ยนส่วนผสม ไม่ต้องลดคุณภาพ ปัญหาคือสวีทเบเกอรีมีเงินหมุนไม่พอจะซื้อวัตถุดิบเพิ่มทีละ 24 ล้านบาท

จึงมาออกหุ้นกู้กับ PeerPower จำนวน 24 ล้านบาท สมมติว่าดอกเบี้ย 12% ต่อปี คิดเป็น 3% ในระยะเวลาหุ้นกู้ 3 เดือน

ตัวอย่างการนำเงินทุนไปลดต้นทุน ออกหุ้นกู้ PeerPower

นั่นหมายความว่าถ้าสวีทเบเกอรีออกหุ้นกู้กับ PeerPower เมื่อรวมค่าดอกเบี้ยหุ้นกู้แล้ว ยังสามารถลดต้นทุนได้เกือบ 5.3 ล้านบาท หรือพูดได้ว่าบริษัทจะมีกำไรเพิ่มขึ้นถึง 17% ใน 3 เดือน เพียงแค่มีเงินทุนเพิ่มเท่านั้น

ธุรกิจของคุณก็สามารถเพิ่มเงินทุนหมุนเวียนเพื่อโอกาสทางธุรกิจทั้ง 3 แบบได้เช่นกัน โดยผู้ให้สินเชื่อหลายเจ้า รวมทั้ง PeerPower เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการนำใบสั่งซื้อสินค้า ใบแจ้งหนี้ หรือ invoice มาเป็นหลักฐานขอกู้เงินทุนได้โดยไม่ต้องมีหลักประกัน (Receivable Financing) 

ธุรกิจของคุณก็สามารถเพิ่มเงินทุนหมุนเวียนเพื่อโอกาสทางธุรกิจทั้ง 3 แบบได้เช่นกัน โดยผู้ให้สินเชื่อหลายเจ้า รวมทั้ง PeerPower เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการนำใบสั่งซื้อสินค้า ใบแจ้งหนี้ หรือ invoice มาเป็นหลักฐานขอกู้เงินทุนได้โดยไม่ต้องมีหลักประกัน (Receivable Financing) 

แหล่งเงินกู้สำหรับธุรกิจไม่ได้มีแค่สินเชื่อธุรกิจที่ผู้ประกอบการรู้จักกันทั่วไปเท่านั้น แต่ยังมีรูปแบบอื่น ๆ เช่น หุ้นกู้คราวด์ฟันดิง ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้หลักประกัน และยังกระบวนการรวดเร็วกว่าธนาคารทั่วไป เป็นอีกทางเลือกหนึ่งให้ผู้ประกอบการพิจารณา

หากธุรกิจของคุณมีรายได้มากกว่า 1 ล้านบาทต่อเดือน โอกาสพาธุรกิจของคุณไปให้ไกลกว่าเดิมมาถึงแล้ว สมัครระดมทุนเลย
ธุรกิจที่สนใจออกหุ้นกู้คราวด์ฟันดิงสามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญของ PeerPower ได้ฟรีที่นี่