e-Tax Invoice คืออะไร?

โลกหมุนเร็วเหลือเกิน เป็นคำพูดที่เหมาะจะใช้กับหัวข้อนี้ที่สุด เพราะประเทศไทยยุค 2021 ทุก ๆ วันนี้ ทุกสิ่งทุกอย่างถูกหยิบยกหันหน้าเข้าพึ่งโลกออนไลน์เกือบจะทั้งหมดแล้ว และยิ่งในสถานการณ์ปัจจุบันที่ผู้คนให้ความสำคัญกับการอยู่บ้าน หรือ Social Distancing มาขึ้น จนทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างถูกโยกย้ายขึ้นไปบนออนไลน์ทั้งหมด แม้แต่พ่อค้า – แม่ค้า หรือเจ้าของธุรกิจต่าง ๆ ก็เริ่มทำการขายค้าผ่านทางออนไลน์ในแพลตฟอร์มของ Facebook หรือ Google มากกว่าการขายแบบออฟไลน์ ที่เรารู้จักกันดีว่าการเปิดร้านขายของ หรือตั้งหน้าร้านขายให้ผู้คนเดินทางมาซื้อ รวมถึงการออกเอกสารสำคัญต่าง ๆ ด้วย 

ปัจจุบันโลกถูกเชื่อมต่อกันด้วยอินเทอร์เน็ต จึงทำให้การติดต่อสื่อสารเป็นไปอย่างไร้พรมแดน รวมไปถึงการติดต่อซื้อ – ขาย และการทำธุรกรรมต่าง ๆ ซึ่งเกิดขึ้นในระบบออนไลน์เป็นจำนวนมาก และสิ่งที่สำคัญที่เราทุกคนต้องรู้คือ เมื่อมีการทำธุรกรรม ค้าขาย หรือแลกเปลี่ยนสินค้าหรือบริการเกิดขึ้น เจ้าของธุรกิจ หรือกิจการ ทั้งในรูปแบบของบุคคล หรือนิติบุคคลที่มีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาท / ปี ที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) กับกรมสรรพากร ต้องจัดทำใบรับเสร็จ หรือใบกำกับภาษีขึ้นมา เพื่อแสดงเป็นหลักฐานในการขายสินค้า หรือบริการ ในการชำระเงิน พร้อมทั้งต้องจัดส่งต้นฉบับใบรับเสร็จ และใบกำกับภาษีนั้นในรูปแบบกระดาษให้แก่ผู้ลูกค้าทุกครั้ง 

รัฐบาลจึงเกิดแนวคิดในการพยายามปรับเปลี่ยนรูปแบบของการดำเนินการยื่นเอกสาร, จัดทำธุรกรรม หรือจัดเก็บหลักฐานต่าง ๆ ในแบบใหม่ ที่เรียกว่า e-service ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในบริการอิเล็กทรอนิกส์ของรัฐบาลไทยที่เริ่มนำเข้ามาปรับใช้เมื่อเดือนมิถุนายน 2560 ที่ผ่านมา 

4 เอกสารสำคัญที่สามารถแปลงให้เป็นอิเล็กทรอนิกส์ และสามารถนำส่งกรมสรรพากรได้

1.   ใบกำกับภาษี (Tax Invoice) ตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร
2.   ใบเพิ่มหนี้ (Debit Note) ตามมาตรา 86/9 แห่งประมวลรัษฎากร
3.   ใบลดหนี้ (Credit Note) ตามมาตรา 86/10 แห่งประมวลรัษฎากร
4.   ใบรับ (Receipt) ตามมาตรา 105 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร

ซึ่งในปัจจุบันกรมสรรพากรกำลังทำหน้าที่พัฒนาระบบขั้นตอนการบริการ, การยื่นเอกสาร และรวมไปถึงการออกใบกำกับภาษีในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของใบกำกับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) และ ใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipts) ที่จัดทำขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวก และลดภาระต้นทุนในส่วนของการนำส่ง, การจัดเก็บใบกำกับภาษีแบบกระดาษ ให้เจ้าของธุรกิจได้อีกด้วย แต่การจะออกใบกำกับภาษี หรือใบเสร็จรับเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ เหมือนเป็นการปรับเปลี่ยนระบบใหม่ทั้งหมดนั้น จะต้องใช้การป้องกัน การดูแลข้อมูลที่ปลอดภัย และเชื่อถือได้ เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และแน่นอนว่ากรมสรรพกรกำลังเร่งจัดการดูแลในส่วนนี้อย่างเคร่งคัด

e-Tax Invoice คืออะไร

e-Tax Invoice หรือที่เรียกกันว่า ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งหมายถึงการออกใบกํากับภาษีในรูปแบบใหม่ ที่กรมสรรพากรได้พัฒนาขึ้นมาใช้แทนการออกใบกำกับภาษีแบบกระดาษ โดยจะปรับเปลี่ยนข้อมูลทั้งหมดเป็นในรูปแบบของอิเล็กทรอนิกส์ผ่านทางระบบออนไลน์แบบ 100%  ซึ่งจะช่วยให้เจ้าของธุรกิจ หรือบริการ รวมทั้งกิจการร้านค้า ไม่จำเป็นต้องจัดเตรียม หรือจัดทำใบกำกับภาษีแบบกระดาษให้วุ่นวาย รวมไปถึงไม่ต้องไปจัดส่งต้นฉบับใบกำกับภาษีให้และลูกค้าที่ทำธุรกิจซื้อ – ขายด้วยตัวเอง แถมยังสามารถส่งข้อมูลใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ถึงกรมสรรพากรได้อย่างสะดวกรวดเร็วผ่านช่องทางอีเมล หรือเว็บไซต์กรมสรรพากรได้ในทันท่วงที ไม่ต้องจัดเตรียม และรวบรวมใบกํากับภาษีแบบกระดาษให้ยุ่งยาก

เทียบกันชัด ๆ ใบกำกับภาษีแบบกระดาษ กับใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ แตกต่างกันอย่างไร?

เปรียบเทียบใบกำกับภาษีแบบกระดาษและแบบอิเล็กทรอนิกส์
เปรียบเทียบใบกำกับภาษีแบบกระดาษและ ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์

e-Tax Invoice จำเป็นต้องจัดทำเข้าระบบทุกคนหรือไม่?

การไม่ยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เมื่อมีรายได้ถึงเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด จะถือว่ามีความผิดทางกฎหมาย ต้องระวางโทษค่าปรับไม่เกิน 2,000 บาท ตามมาตรา 35 แห่งประมวลรัษฎากร รัฐอาจจะไม่สามารถตรวจจับได้ทีละรายคน แต่การเสียภาษีให้ถูกต้องก็จะทำให้เป็นผลดีกับการพัฒนาประเทศ ซึ่งรัฐบาลพยายามดึงทุกคนเข้าสู่ระบบ ทั้งในระบบออนไลน์ และออฟไลน์ ด้วยโครงการต่าง ๆ ของรัฐ จะเห็นได้ว่าหลาย ๆ ระบบจะมีการเปิดให้ลงทะเบียนก่อนร่วมโครงการ

ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์จะต้องมีรายละเอียดอะไรบ้าง?

1. เป็นไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ประเภท
.pdf (Portable Document Format)
– .doc, .docx (Microsoft Word Document)
– .xls, .xlsx (Microsoft Excel)

2. ภายใน 1 ไฟล์ต้องมีขนาดไม่เกิน 3 MB

3. ข้อมูลรายละเอียดที่อยู่ในไฟล์เอกสารจะต้องไม่ใช่รูปภาพเด็ดขาด ห้ามใช้ การถ่ายภาพหรือการแปลงไฟล์จากเอกสารกระดาษมาเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เด็ดขาด

4. ต้องมีการลงลายเซ็นดิจิตอล (Digital Signature) หรือประทับรับรองเวลา (Time Stamp) ผ่านระบบ e-Tax Invoice by Email เพื่อให้เอกสารนี้ถูกต้องตามกฎหมาย และสามารถใช้เป็นหลักฐานสำคัญในทางกฎหมายได้อีกด้วย

วิธีการเปลี่ยนใบกำกับภาษีในรูปแบบเอกสาร ให้กลายเป็นใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์

วิธีเปลี่ยนใบกำกับภาษีในรูปแบบเอกสาร เป็นอิเล็กทรอนิกส์

e-Tax Invoice มีทั้งหมดกี่รูปแบบ…ใช้แตกต่างกันอย่างไร?

e-Tax Invoice หรือใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ มีทั้งหมด 2 รูปแบบ

รูปแบบที่ 1: e-Tax Invoice & Receipt

e-Tax Invoice & Receipt ซึ่งใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ เหมาะสำหรับเจ้าของธุรกิจ หรือกิจการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (Vat 7%) ในรูปแบบไม่จำกัดรายได้ ซึ่งจะจัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบของไฟล์ .xml เท่านั้นสำหรับการนำส่งข้อมูลให้กรมสรรพากรต้องจัดทำข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์

ถ้าหากจำเป็นต้องใช้ในรูปแบบอื่น หรือไฟล์นามสกุลอื่น ให้มีการลงลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) เพื่อส่งมอบให้ลูกค้าผู้ซื้อสินค้า หรือบริการทุกครั้งที่มีการซื้อ – ขายเกิดขึ้น

รูปแบบที่ 2: e-Tax Invoice by Email

e-Tax Invoice by Email เหมาะสำหรับเจ้าของธุรกิจ หรือกิจการ ขนาดเล็กที่มีรายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาท/ปี และจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (Vat) ซึ่งรูปแบบนี้จะต้องจัดทำเฉพาะใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นไฟล์ PDF/A-3 เท่านั้น ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2561 ที่ผ่านมา เจ้าของธุรกิจ หรือกิจการจะต้องส่งอีเมลให้ลูกค้า และจัดทำสำเนา (CC) ไปที่ [email protected] เพื่อให้ระบบประทับรับรองเวลา (Time Stamp) จากนั้นระบบ e-Tax Invoice by Email จะส่งอีเมลที่มีประทับรับรองเวลาไปยังอีเมลของลูกค้า และเจ้าของธุรกิจ หรือกิจการเพื่อจัดเก็บเป็นหลักฐาน และนำส่งข้อมูลให้กรมสรรพากรแบบอัตโนมัติ ไม่ต้องเสียเวลาไปยื่นด้วยตัวเอง

อ่านเพิ่มเติมเรื่องแตกต่างของทั้ง 2 รูปแบบต่อที่นี่

วิธีการนำส่งข้อมูลให้กรมสรรพากร

วิธีที่ 1 จัดทำด้วยตัวเอง

จัดทำด้วยระบบงานของเจ้าของธุรกิจ และกิจการร้านค้าผ่านระบบบัญชีหรือระบบ ERP ด้วยตนเอง หรือใช้โปรแกรมที่สามารถปรับปรุงระบบงานให้จัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ ที่มีการลงลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) ตามรูปแบบ และเงื่อนไขที่กำหนด ก่อนนำส่งถึงกรมสรรพกรตามช่องทางต่าง ๆ ดังนี้

–  Host to Host สำหรับเจ้าของธุรกิจ และกิจการร้านค้า
–  Service Provider สำหรับตัวแทน
–  Web Upload

แค่อ่านก็ปวดหัวแล้ว? อย่าเพิ่งท้อ! PEAK มาช่วยคุณแล้ว เรามีวิธีที่จะทำให้การนำส่งใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ ให้กรมสรรพกรได้ง่าย และสะดวกรวดเร็วขึ้นสไตล์ PEAK PEAK

  1. ผู้ใช้งานต้องทำการสมัครบริการบน INET ก่อนทำการเชื่อมต่อกับ PEAK 
  2. ต้องเชื่อมต่อการส่ง e-Tax Invoice & e-Receipt ผ่านผู้ให้บริการ INET ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้ สนใจอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม คลิก: https://bit.ly/3mLSRE6
  3. หากกิจการมีการเชื่อมต่อการส่งกับผู้ให้บริการอื่น เช่น e-Tax Invoice by Email จะไม่สามารถเชื่อมต่อได้ INET เข้ากับ PEAK  ได้

เมื่อสมัครบริการบน INET และเชื่อมต่อกับ PEAK เรียบร้อยแล้ว ต่อไปเรามาส่ง e-Tax Invoice ในโปรแกรมบัญชี PEAK กัน เริ่ม!

  1. สร้างเอกสารใบกำกับภาษี แล้วกด Drop Down ส่งอีเมล
  2. อย่าลืม! กดส่ง e-Tax Invoice ให้เรียบร้อย ซึ่งเมื่อการส่งสำเร็จจะมีกล่องข้อความขึ้นมาแจ้งเตือนเด้งโชว์ขึ้นมา
  3. ใส่อีเมลของลูกค้าที่ต้องการจะจัดส่งเอกสารใบกำกับภาษีให้ หากมีการใส่อีเมลไว้ในหน้าผู้ติดต่อเรียบร้อยแล้ว ระบบจะทำการรัน โดยดึงข้อมูลเก่ามาใช้เป็นอีเมลลูกค้าโดยอัตโนมัติ หรือถ้าหากเราต้องการเพิ่มการส่งมากกว่า 1 อีเมล ให้ทำการใส่ชื่ออีเมลตรงช่อง BCC 
  4. กดส่งอนุมัติ เท่านี้ก็เสร็จเรียบร้อย

สนใจอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม คลิก: https://bit.ly/3ls7iNS

วิธีที่ 2 จัดทำโดยใช้ระบบของกรมสรรพากร

จัดทำด้วยระบบบริการของกรมสรรพากร สำหรับเจ้าของธุรกิจ และกิจการร้านค้าที่ยังไม่มีระบบบัญชี สามารถจัดทำเอกสาร และลงลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) ด้วยระบบ RD Portal หรือจัดทำเอกสารส่งอีเมลเพื่อประทับรับรองเวลา (Time Stamp) ด้วยระบบ e-Tax Invoice by Email ให้กรมสรรพกร

–   Web Portal
–   e-Tax Invoice by Email

จะเข้าร่วมระบบ e-Tax Invoice by Email ต้องลงทะเบียนอย่างไร?

PEAK ช่วยจัดการ.ส่งใบกำกับภาษีผ่าน e-Tax Invoice by Email ให้คุณได้ ไม่ยุ่งยาก ง่าย ๆ ในไม่กี่คลิก ก่อนอื่นเลยการจะส่งใบกำกับภาษีผ่าน e-Tax Invoice by Email คุณต้องลงทะเบียน e-Tax Invoice by Email กับทางกรมสรรพากรให้เรียบร้อยเสียก่อน

ก่อนอื่นต้องเช็กคุณสมบัติของเจ้าของธุรกิจ และกิจการร้านค้า ที่สามารถยื่นคำขอ e-Tax Invoice by Email ได้ก่อน

1. เจ้าของธุรกิจ และกิจการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (Vat)
2. ต้องเป็นเป็นเจ้าของธุรกิจ และกิจการที่มีรายได้แล้วไม่เกิน 30 ล้านบาท/ปี นับตั้งแต่ปีภาษี 2558 เป็นต้นมา
3. ต้องไม่เป็นเจ้าของธุรกิจ หรือกิจการร้านค้าที่ได้รับอนุมัติ หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาอนุมัติให้จัดทํา ส่งมอบ และเก็บรักษาใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ ตามระเบียบกรมสรรพากร
4. ไม่มีพฤติกรรมหลีกเลี่ยงภาษี และไม่มีประวัติการออก หรือใช้ใบกํากับภาษีปลอมหรือใบกํากับภาษีที่ออกโดยผิดกฎหมาย

8 ขั้นตอนในการยื่นขอเข้าร่วมระบบ e-Tax Invoice by Email

ขั้นตอนการสมัคร e-Tax Invoice by Email
ขั้นตอนการสมัคร e-Tax Invoice by Email

1. เข้าเว็บไซต์กรมสรรพากร คลิก: http://www.rd.go.th เพื่อยื่นคําขอ
2. กรอกหมายเลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากร และ ตรวจสอบข้อมูล หรือมีข้อมูลผิดพลาดสามารถแจ้งเปลี่ยนแปลงที่อยู่ ให้เป็นปัจจุบันได้
3. แจ้งอีเมลที่ใช้ในการติดต่อกับกรมสรรพกร
4. พิมพ์เอกสาร กอ.01 และเซ็นชื่อลงนาม
5. สแกนเอกสาร กอ.01 และอัพโหลดเอกสารส่งกลับไป
6. รอทางกรมสรรพกรตรวจสอบ หากตรวจพบว่าเอกสารไม่ถูกต้องครบถ้วนจะต้องทำการอัพโหลดเอกสารใหม่ทั้งหมด ภายในระยะเวลา 7 วันทําการ
7. กรมสรรพากรจัดส่งเอกสาร ยืนยันทางไปรษณีย์ พร้อมรหัสยืนยัน (Activate Code)
8. ยืนยันตัวตนทางเว็บไซต์ และเข้าไปกําหนดรหัสผ่านใหม่ภายในระยะเวลา 15 วันทําการ
9. แจ้งอีเมลที่ต้องการจะใช้ในการส่งใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์

เมื่อยื่นคำขอเข้าร่วมระบบ e-Tax Invoice by Email เรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการกดส่ง e-Tax ด้วยตนเอง ซึ่งทำได้ง่าย ๆ เพียง 4 ขั้นตอนกับ PEAK ที่คุณก็สามารถทำเองได้ สนใจอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม คลิก: https://bit.ly/3ls7iNS และที่สำคัญเมื่อทำการกดส่ง e-Tax เรียบร้อยแล้ว จะมีอีเมลจาก ETDA (สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์) ส่งตอบกลับเข้ามาแจ้งให้สามารถว่า ประทับรับรองทางเวลาเรียบร้อย อย่าลืมเช็กกันด้วยนะ 

e-Tax Invoice ถือเป็นเรื่องการยื่นภาษีที่ใหม่มากสำหรับคนไทย มีคนหลายกลุ่มที่ยังไม่เข้าใจ และยังไม่ได้เข้าไปอยู่ในระบบอย่างถูกต้อง แน่นอนว่าสำหรับเจ้าของธุรกิจ หรือกิจการร้านค้าการปฎิบัติตามกฎหมาย ยื่นภาษี, จ่าย Vat อย่างถูกต้องนั้นถือเป็นเรื่องที่ดี ที่จะไม่ทำให้เกิดปัญหาใหญ่ในภายหลัง PEAK พร้อมเป็นที่ปรึกษา และดูแลบัญชีให้ธุรกิจของคุณอย่างครบวงจร หมดห่วงเรื่องภาษี ธุรกิจเติบโตได้อย่างก้าวกระโดด

สมัครใช้งานโปรแกรม PEAK คลิก https://peakaccount.com/