25 April 2024

ความเสี่ยงงานบัญชี มีวิธีรับมือได้อย่างไร?

ความเสี่ยงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับทุกองค์กรธุรกิจ เป็นโอกาสที่จะเกิดความผิดพลาด ความเสียหาย การรั่วไหล ความสูญเปล่าหรือเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ ซึ่งอาจเกิดขึ้นในอนาคต และมีผลกระทบ ที่จะทำให้การดำเนินงานไม่ประสบความสำเร็จหรือบรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายขององค์กร ที่กำหนดไว้ งานบัญชีเป็นงานที่มีความสำคัญมากของทุกองค์กร มีความเกี่ยวข้องกับข้อมูลบัญชีและ การเงิน ซึ่งต้องมีความถูกต้องสำหรับผู้ประกอบการนำไปใช้ในการตัดสินใจ และมีความน่าเชื่อถือ สำหรับบุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้อง อย่างไรก็ตามงานบัญชีก็มีความเสี่ยงต่อการเกิดข้อผิดพลาดซึ่งจะก่อ ให้เกิดความเสียหายต่อองค์กร ผู้ประกอบการจะรับมือกับความเสี่ยงในงานบัญชีได้อย่างไร บทความนี้ มีคำตอบ ความเสี่ยงที่พบในงานบัญชี ความเสี่ยงที่พบในงานบัญชี  ประกอบด้วย 1. ความเสี่ยงจากลักษณะธุรกิจ …

เรื่องต้องรู้! การพัฒนาทักษะนักบัญชีในยุคดิจิทัล

เมื่อโลกเข้าสู่ยุคดิจิทัล เทคโนโลยีเข้ามาทำงานแทนมนุษย์ หลายอาชีพมีความเสี่ยงที่จะตกงาน หลายคนเชื่อกันว่าการทำงานแบบซ้ำๆ เดิมอย่างงานบัญชีมีโอกาสถูกแทนที่ด้วย AI นักบัญชีจะเรียนรู้และพัฒนาทักษะอะไรบ้างเพื่อให้อยู่รอดและไม่เสี่ยงต่อการตกงานในยุคดิจิทัล ยุคดิจิทัลมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร ทุกวันนี้โลกเข้าสู่ยุคดิจิทัล ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญในทุกภาคส่วนโดยเฉพาะภาคธุรกิจ ภาคธุรกิจจึงต้องปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี Digital Transformation จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ธุรกิจอยู่รอดได้ Digital Transformation คือ การเปลี่ยนแปลงแนวคิดและนำเทคโนโลยีและกลยุทธ์ทางดิจิทัลมาปรับใช้ในองค์กรธุรกิจ เริ่มตั้งแต่การวางรากฐาน เป้าหมาย การดำเนินธุรกิจ และการส่งมอบคุณค่าให้แก่ลูกค้า รวมถึงขั้นตอนการทำงานและวัฒนธรรมขององค์กร โดยตั้งแต่พนักงานระดับปฏิบัติการจนถึงผู้บริหารระดับสูงควรมีส่วนร่วมในการปรับตัวไปกับองค์กรด้วยเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นและเพื่อป้องกันการเกิด Digital …

ไม่รู้ไม่ได้! กฎหมายภาษีที่ส่งผลกระทบต่องานบัญชี

งานบัญชีมีความเกี่ยวข้องกับกฎหมายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  ซึ่งกฎหมายที่ใกล้ตัวนักบัญชีที่สุดคือ ประมวลรัษฎากรซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากร ที่จัดเก็บโดยกรมสรรพากร รวมทั้งกฎหมายภาษีที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กฎหมายศุลกากร, พระราชบัญญัติที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง และพระราชบัญญัติภาษีป้าย นอกจากนี้ยังมีกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานบัญชี เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (บรรพ3 ลักษณะ 22 หุ้นส่วนและบริษัท), พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ.2543 และพ.ศ.2547, พระราชบัญญัติประกันสังคม, พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน เป็นต้น กฎหมายภาษีเป็นกฎหมายที่สำคัญ โดยเฉพาะประมวลรัษฎากรซึ่งเป็นกฎหมายภาษีที่นักบัญชีทั้งในองค์กรและสำนักงานบัญชี …

เดบิต-เครดิต ในการทำบัญชีคืออะไร

เดบิต-เครดิต เป็นคำที่คุ้นเคยสำหรับนักบัญชี ผู้ทำบัญชีและผู้สอบบัญชี แต่สำหรับผู้ประกอบการและบุคคลทั่วไปอาจจะไม่เข้าใจความหมายหรืออาจเข้าใจผิดได้ บางคนเข้าใจว่า เดบิต คือ รายรับ เครดิตคือรายจ่าย  อันที่จริง เดบิต เครดิต เป็นหลักการพื้นฐานของบัญชี การที่เจ้าของกิจการเข้าใจหลักการของเดบิตเครดิตจะช่วยให้มองเห็นที่มาที่ไปของรายการค้า เป็นประโยชน์ต่อการตรวจสอบและช่วยให้วางแผนตัดสินใจในการธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ เดบิต เครดิต คืออะไร มีผู้ให้คำนิยามของเดบิต เครดิต ไว้ดังนี้ 1. คุณหญิง พยอม สิงห์เสน่ห์และนรีนุช …

บริหาร Cash flow อย่างไร ไม่ให้กิจการขาดสภาพคล่อง

ในการทำธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นกิจการขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่จำเป็นต้องมีเงินสดเพียงพอเพื่อใช้ใน การดำเนินกิจการ กิจการ SMEs  หลายๆ กิจการมักประสบปัญหาการขาดเงินที่เพียงพอในการ ดำเนินธุรกิจ การทำความเข้าใจกระแสเงินสดเข้าออกจะทำให้ผู้ประกอบการบริหารจัดการกระแส เงินสดได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำให้เกิดสภาพคล่องในการดำเนินกิจการ ทำไมธุรกิจจึงขาดสภาพคล่อง สาเหตุที่ทำให้ธุรกิจขาดสภาพคล่องเกิดจาก 4 จม คือ 1. จมอยู่กับลูกหนี้ หมายถึงเมื่อกิจการขายสินค้าไปแล้วยังเก็บค่าสินค้าจากลูกหนี้ไม่ได้ 2.จมอยู่กับสินค้า หมายถึง สต็อกสินค้ามีมาก ขายสินค้าไม่ออก การมีต้นทุนเก็บรักษาที่สูง สินค้าเสื่อมสภาพ สินค้าหมดอายุ …

เกณฑ์การรับรู้รายการสินทรัพย์

เกณฑ์การรับรู้รายการ  การรับรู้รายการ หมายถึง การรวมรายการเข้าเป็นส่วนหนึ่งของงบแสดงฐานะการเงินและงบกำไรขาดทุนหากรายการนั้นเป็นไปตามนิยามขององค์ประกอบและเข้าเกณฑ์การรับรู้รายการ   ซึ่งรับรู้รายการจะต้องเข้าเงื่อนไขทุกข้อ  ดังต่อไปนี้ มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตของรายการดังกล่าวจะเข้าหรือออกจากกิจการ รายการดังกว่ามีราคาทุนหรือมูลค่าที่สามารถวัดได้อย่างน่าเชื่อถือ  “ความน่าจะเป็นของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคต”                 เกณฑ์การับรู้รายการข้อแรกนี้เป็นการพิจารณาถึงความน่าจะเป็นของระดับความแน่นอนที่ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตของรายการค้าจะเข้าหรือออกจากกิจการ  โดยระดับความแน่นอนแบ่งออกเป็น  ความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ (ความน่าจะเป็น > 50%)   และความไม่น่าจะเป็นไปได้ (ความน่าจะเป็น < 50%)  ซึ่งรายการหรือเหตุการณ์ทางบัญชีที่มีความน่าจะเป็นสูงถึงระดับความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่   รายการดังกล่าวจึงเข้าเงื่อนไขในข้อแรกข้างต้น  “ความเชื่อถือได้ของการวัดมูลค่า”                 เงื่อนไขข้อที่สองกำหนดว่ากิจการสามารถที่จะวัดราคาทุนหรือมูลค่าของรายการนั้นได้อย่างน่าเชื่อถือหรือไม่  เมื่อรายการดังกล่าวเข้าเงื่อนไขทั้ง 2 ข้อแล้ว  กิจการต้องรับรู้รายการในงบการเงิน  แต่หากรายการเป็นไปตามคำนิยามขององค์ประกอบของงบการเงินแต่ไม่เข้าเกณฑ์การรับรู้รายการ  กิจการควรเปิดเผยหรืออธิบายเพิ่มเติมในหมายเหตุประกอบงบการเงินด้วย หลักการรับรู้รายการในงบแสดงฐานะการเงินและงบกำไรขาดทุน การรับรู้สินทรัพย์ 1.     มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตจะเข้าสู่กิจการและ 2.      สินทรัพย์นั้นมีราคาทุนหรือมูลค่าที่สามารถวัดได้อย่างน่าเชื่อถือ การรับรู้หนี้สิน …

เกณฑ์คงค้างกับเกณฑ์เงินสด แตกต่างกันอย่างไร?

เกณฑ์เงินสด เป็นการบันทึกบัญชีเมื่อได้รับหรือจ่ายเงินสดจริง โดยไม่ได้คำนึงถึงว่ารายได้หรือค่าใช้จ่ายจะอยู่ในรอบระยะเวลาบัญชีใด เรียกได้ว่ารายได้ตามเกณฑ์เงินสดนี้จะไม่รวมรายได้จากการขายเชื่อ หรือการให้บริการแล้วยังไม่ได้รับเงิน สำหรับค่าใช้จ่ายก็จะไม่รวมค่าใช้จ่ายจากการซื้อเชื่อ หรือการรับบริการที่ยังไม่ได้จ่ายชำระเงิน กิจการจะไม่มีการบันทึกรายได้หรือค่าใช้จ่ายจนกว่าจะได้รับเงินหรือจ่ายเงินจริง ตัวอย่างเช่น เราจ่ายค่าเช่าบ้านปีละ 12,000 บาท ทันทีที่เราจ่ายเงินไปเราก็จะบันทึเป็นค่าเช่า 12,000 บาททันที โดยไม่ต้องสนใจว่า ค่าเช่าที่จ่ายไปนั้นสำหรับการเช่า 1 ปี ซึ่งบัญชีตามเกณฑ์เงินสดนั้น ราชการของไทยจะใช้เป็นเกณฑ์ในการบันทึกบัญชี เกณฑ์คงค้าง เกณฑ์คงค้าง หรือ เราจะเรียกอีกชื่อว่าเกณฑ์สิทธินั้น คือ วิธีการทางบัญชีที่ใช้เป็นหลักในการพิจารณาบันทึกรายได้และค่าใช้จ่ายให้อยู่ในงวดต่าง …

ค่าเสื่อมราคา สะท้อนให้เห็นสิ่งใดในกิจการ?

ค่าเสื่อมราคาเป็นคำที่คุ้นเคยสำหรับนักบัญชี แต่สำหรับผู้ประกอบการ นักลงทุน หรือบุคคลทั่วไป คงจะเคยผ่านตาสำหรับคำว่า “ค่าเสื่อมราคา” ในการอ่านงบการเงินหรือรายงานทางการเงินต่างๆ มาบ้างแต่อาจจะไม่เข้าใจความหมายที่แท้จริงของค่าเสื่อมราคา หรือค่าเสื่อมราคาสะท้อนให้เห็นอะไรเกี่ยวกับกิจการ ค่าเสื่อมราคาคืออะไร ค่าเสื่อมราคา (Depreciation) คือ ค่าใช้จ่ายที่ทยอยตัดจากมูลค่าของสินทรัพย์ที่กิจการใช้ประโยชน์และเกินกว่า 1 ปีขึ้นไป สินทรัพย์เหล่านี้ได้แก่สินทรัพย์ถาวร โดยส่วนใหญ่มีมูลค่าสูง ซึ่งกิจการต้องประมาณการอายุการใช้ประโยชน์ของสินทรัพย์แต่ละรายการ เพื่อที่จะทยอยตัดเป็นค่าใช้จ่ายในแต่ละงวด สินทรัพย์ถาวร คืออะไร สินทรัพย์ถาวร หมายถึง สินทรัพย์ที่มีลักษณะถาวรโดยสภาพ …

เทคโนโลยี OCR ตัวช่วยนักบัญชีในยุคดิจิทัล

ปัจจุบันโลกเข้าสู่ยุค Digital 4.0 เทคโนโลยีมีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว อุปกรณ์ต่างๆ สื่อสารและทำงานได้โดยอัตโนมัติซึ่งมี ผลกระทบกับทุกภาคส่วน วงการบัญชีก็เช่นกัน ที่การพัฒนาของโปรแกรม บัญชีมีเทคโนโลยีเข้ามาช่วยให้นักบัญชีทำงานง่ายและมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากเทคโนโลยีระบบ Cloud ซึ่งเป็นที่รู้จักกันทั่วไปแล้วยังมีการนำเทคโนโลยี OCR มาใช้ในวงการซอฟต์แวร์บัญชี ซึ่ง OCR จะเข้ามาช่วยงานของนักบัญชีได้อย่างไร บทความนี้มีคำตอบ OCR คืออะไร OCR หรือ Optical Character …

กลยุทธ์การตรวจนับสินค้าคงเหลืออย่างมีประสิทธิภาพ

การตรวจนับสินค้าคงเหลือหรือการนับสต็อกสินค้า เป็นสิ่งที่นักบัญชีส่วนใหญ่คุ้นเคยกันดี กิจการที่มีการนับสต็อกหรือตรวจเช็ก สินค้าอย่างสม่ำเสมอ จะลดปัญหาความผิดพลาดในเรื่องปริมาณสินค้าคงเหลือ ทำให้ตัวเลขในงบการเงินมีความถูกต้อง ลดความเสี่ยงที่จะถูกกรมสรรพากรตรวจสอบและเสียภาษีเพิ่มเติมได้ ทำอย่างไรกิจการจะตรวจนับสินค้าคงเหลือให้มีความแม่นยำถูกต้อง บทความนี้มีคำตอบ ในการบริหารจัดการสินค้าคงเหลือ ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจวิธีการบันทึกบัญชีของสินค้าคงเหลือก่อน เพื่อที่ผู้ประกอบการจะได้เลือกใช้วิธีที่เหมาะสมในการบันทึกบัญชีให้เหมาะสมกับลักษณะและปริมาณสินค้าของกิจการแต่ละประเภท วิธีการบันทึกบัญชีของสินค้าคงเหลือ                            วิธีการบันทึกบัญชีของสินค้าคงเหลือ มีด้วยกัน 2 ระบบดังนี้ 1. วิธีบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือแบบต่อเนื่อง (Perpetual Inventory Method) เป็นวิธีการบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือทุกครั้งที่มีความเคลื่อนไหวของสินค้า ทำให้ยอดสินค้าคงเหลือ  อัปเดตเป็นปัจจุบันตลอดเวลา …