เปรียบเทียบใบเสร็จรับเงินเต็มรูปแบบ และใบเสร๋จรับเงินแบบย่อ

“ขอใบเสร็จรับเงินด้วยนะคะ” ประโยคที่เจ้าของกิจการทุกคน ต้องเคยได้ยิน แต่รู้ไหม…กิจการของคุณควรออกใบเสร็จรับเงินแบบไหน? แล้วใช้เพื่ออะไร? หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่าใบเสร็จรับเงิน เป็นเหมือนหลักฐานสำคัญที่จะแสดงต่อด่านหน้าอย่างนักบัญชี และด่านสุดท้ายอย่างสรรพากรที่จะใช้ยืนยันในการใช้จ่ายแต่ละครั้ง ฟังแล้วรีบไปค้นหาใบเสร็จรับเงินที่เพิ่งขยำไปด่วน!

ใบเสร็จรับเงิน คืออะไร?

ใบเสร็จรับ หรือที่เรียกกันว่า ใบเสร็จรับเงิน (Receipt) คือเอกสารสำคัญที่จะแสดงถึงการใช้จ่ายเงินของผู้ซื้อ ซึ่งใบเสร็จรับเงินจะถูกออกโดยผู้ขาย หรือเจ้าของกิจการ เพื่อยืนยันว่าได้รับเงินค่าสินค้า หรือบริการแล้วเรียบร้อย เรื่องนี้สำคัญมากสำหรับเจ้าของกิจการ เมื่อมีการซื้อ – ขายเกินราคา 100 บาทเกิดขึ้น เจ้าของกิจการต้องออกใบเสร็จรับเงินให้ลูกค้าทุกครั้ง ห้ามเพิกเฉย หรือละเลยเด็ดขาด  เพราะตามกฎหมายแห่งประมวลรัษฎากร มาตรา 105  กำหนดให้เจ้าของกิจการต้องออกใบกำกับภาษี (สำหรับธุรกิจที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) หรือใบเสร็จรับเงิน เพื่อเป็นหลักฐานในการรับเงิน

เตือนผู้ขาย หรือเจ้าของกิจการ ที่ไม่ยอมออกใบกำกับภาษี หรือใบเสร็จรับเงิน ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือทั้งจำทั้งปรับตามมาตรา 127 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ห้ามลืมเด็ดขาด…PEAK เตือนแล้วนะ

ใบเสร็จรับเงินถูกแบ่งออกเป็น 2 แบบด้วยกัน นั่นก็คือ ใบเสร็จรับเงินแบบเต็ม และใบเสร็จรับเงินแบบย่อ ซึ่งทั้งสองแบบจะมีรายละเอียด และรูปแบบการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป

ใบเสร็จรับเงินแบบเต็ม

เป็นเอกสารและหลักฐานสำคัญที่ใช้สำหรับการยื่นภาษีให้กรมสรรพากร เจ้าของธุรกิจหรือผู้ขายจะออกใบเสร็จรับเงินแบบเต็มให้สำหรับลูกค้าที่ต้องการนำไปขอให้คืนภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับสินค้า หรือบริการที่ต้องการยืนยันเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ต้นแบบหรือองค์กร และต้องการนำไปเป็นหลักฐานสำหรับสินค้า หรือบริการที่มีบริการหลังการขาย การรับประกันต่าง ๆ ซึ่งโดยปกติทั่วไปร้านค้าจะไม่ค่อยออกใบเสร็จรับเงินแบบเต็มให้ หากไม่ใช่บริษัทใหญ่ หรือมีการซื้อ – ขายในจำนวนที่มากจริง ๆ แต่หากต้องการใช้ใบเสร็จรับเงินแบบเต็ม เราสามารถร้องขอกับพนักงาน หรือร้านค้าให้ออกใบเสร็จรับเงินแบบเต็มให้เราได้เช่นกัน

ใบเสร็จรับเงินแบบเต็ม มีส่วนประกอบสำคัญตามที่กฎหมายกำหนดไว้ (มาตรา 86/4) มีทั้งหมด 8 ส่วน

1. จั่วหัวด้วยคำว่า ใบเสร็จรับเงินหรือใบกำกับภาษี
2. เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของเจ้าของธุรกิจ, ผู้ขายสินค้าหรือบริการ
3. ชื่อ – ที่อยู่ ของเจ้าของธุรกิจ, ผู้ขายสินค้าหรือบริการ
4. ชื่อ – ที่อยู่ของลูกค้า, ผู้ซื้อสินค้า และบริการ
5. ตัวเลข หรือลำดับที่ของใบเสร็จรับเงิน
6. วันที่ ที่ทำการออกใบเสร็จรับเงิน
7. รายละเอียดต่าง ๆ ของสินค้า และบริการที่ออกใบกำกับภาษี เช่น ชื่อสินค้า, ประเภทสินค้า, ปริมาณของสินค้า รวมไปถึงมูลค่าของสินค้า หรือบริการที่ต้องการซื้อ
8. จำนวนของภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยต้องทำการคำนวณมาจากจำนวนเงินที่จ่ายค่าสินค้าหรือบริการตามจริง

ตัวอย่างใบเสร็จรับเงินแบบเต็ม
ตัวอย่างใบเสร็จรับเงินแบบเต็ม

ใบเสร็จรับเงินแบบย่อ

เป็นเอกสาร และหลักฐานสำคัญที่จะยืนยันการซื้อ – ขาย และการจ่ายเงิน รวมถึงการได้รับสินค้า เช่นเดียวกับใบเสร็จรับเงินแบบเต็ม แต่ใบเสร็จรับเงินแบบย่อจะเป็นรูปแบบใบเสร็จที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไปในชีวิตประวัน เช่น ร้านค้า, ห้างสรรพสินค้า หรือแม้แต่ร้านสะดวกซื้ออย่าง 7-Eleven เพราะใช้งานง่าย และสะดวกในการออกเอกสาร สามารถออกใบเสร็จรับเงินแบบย่อให้กับลูกค้า หรือผู้ซื้อทันที หลังมีการซื้อ – ขายเกิดขึ้น ซึ่งการออกใบเสร็จรับเงินแบบย่อเหมาะกับธุรกิจ หรือกิจการค้าปลีก ซื้อขายในราคาไม่สูงมาก ขายให้กับบุคคลทั่วไป ไม่ใช่บริษัทยักษ์ใหญ่

แต่ก็ยังมีกฎสำหรับธุรกิจ หรือกิจการที่ต้องการออกใบกำกับภาษีอย่างย่อ เพราะจะต้องทำเรื่องเพื่อขออนุญาตใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินต่ออธิบดีกรมสรรพากรให้เรียบร้อยเสียก่อน โดยการขออนุญาตนั้นสามารถยื่นขอได้ตามสรรพากรในพื้นที่ที่ธุรกิจ หรือกิจการเปิดทำการอยู่ และถ้าหากมีจำนวนมากกว่า 1 ร้าน หรือหลายสาขาก็จะต้องทำการยื่นเรื่องขออนุญาตเป็นรายสาขาไปด้วยเช่นกัน

ธุรกิจหรือกิจการที่มักออกใบเสร็จรับเงินแบบย่อ จะต้องเป็นธุรกิจ หรือกิจการที่จดทะเบียนในระบบเป็นร้านค้าปลีก หรือเป็นการขายค้าของประชาชนทั่วไปกันเอง โดยไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง รวมไปถึงกิจการบริการ ยกตัวอย่างเช่น ห้างสรรพสินค้า, ร้านขายของชำ, ร้านขายยา, ร้านอาหาร, ร้านนวด – สปา, ร้านซ่อมรถ หรือแม้กระทั่งโรงภาพยนตร์ ซึ่งการออกใบเสร็จรับเงินแบบย่อ จะไม่สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ แตกต่างกับใบเสร็จรับเงินแบบเต็ม

ใบเสร็จรับเงินแบบย่อ ประกอบไปด้วย 5 ส่วนหลัก ๆ ด้วยกัน

1. จั่วหัวด้วยคำว่า ใบเสร็จรับเงินแบบย่อ
2. ชื่อย่อ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษี
3. (ถ้ามี) หมายเลขใบกำกับภาษี และหมายเลขเล่มที่ออกใบกำกับภาษี
4. รายละเอียดต่าง ๆ ของสินค้า และบริการที่ออกใบกำกับภาษี เช่น ชื่อสินค้า, ประเภทสินค้า, ปริมาณของสินค้า
5. วันที่ ที่ทำการออกใบเสร็จรับเงิน

ตัวอย่างใบเสร็จรับเงินแบบย่อ

ใบเสร็จรับเงินเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามเด็ดขาด เลือกใช้ให้ถูกประเภท และถูกต้องตามกฎหมาย ป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาใหญ่ตามมา หากคุณเป็นเจ้าของธุรกิจ หรือกิจการที่กำลังหัวหมุนในเรื่องของการออกใบเสร็จรับเงิน ธุรกิจของฉันควรออกเสร็จรับเงินแบบไหนดี? ลดหย่อนภาษีอย่างไร? ต้องไปยื่นเรื่องที่ไหน? หรือแม้กระทั่งจะทำบัญชีอย่างไรให้ถูกต้อง? PEAK มีคำตอบ เพราะมีคือโปรแกรมบัญชีครบวงจรที่จะอยู่เคียงข้างธุรกิจของคุณ รวมไปถึงให้คำปรึกษาในทุกเรื่องของการทำบัญชี ช่วยให้ธุรกิจของคุณเติบโต ก้าวไปข้างหน้าอย่างถูกต้อง

สมัครใช้งานโปรแกรม PEAK คลิก https://peakaccount.com/