วิธีป้องกัน "ออฟฟิศซินโดรม"

ออฟฟิศซินโดรมเป็นอาการที่พบบ่อยในกลุ่มคนทำงานออฟฟิศ และนักบัญชีก็เป็นหนึ่งในอาชีพที่ต้องนั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน จึงมักประสบปัญหาจากอาการดังกล่าว วันนี้ PEAK จึงหาวิธีป้องกันรวมถึงการรักษา เพื่อให้การทำงานของนักบัญชีเป็นไรอย่างราบรื่นและสุขภาพดี

ออฟฟิศซินโดรม คืออะไร

ออฟฟิศซินโดรม คืออาการปวดกล้ามเนื้อเนื่องมาจากรูปแบบการทำงาน ที่ใช้กล้ามเนื้อมัดเดิมซ้ำๆ เป็นระยะเวลานานอย่างต่อเนื่อง รวมถึงอาการชาที่บริเวณแขนหรือมือ จากการที่เส้นประสาทส่วนปลายถูกกดทับอย่างต่อเนื่อง มักเกิดขึ้นจากการนั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์นานเกินไป อย่างอาชีพนักบัญชีที่ทำงานกับตัวเลขและจำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์ในการทำงานเป็นหลักก็มีโอกาสเสี่ยงสูงต่อการเกิดอาการออฟฟิศซินโดรม

อาการออฟฟิศซินโดรม

อาการออฟฟิศซินโดรมมีลักษณะดังต่อไปนีคือ

1 ปวดกล้ามเนื้อบริเวณส่วนต่างๆของร่างกาย เช่น คอ บ่า ไหล่ สะบักและหลัง ส่วนใหญ่มักพบอาการปวดเป็นบริเวณกว้าง อาจพบอาการปวดร้าวไปยังตำแหน่งต่างๆ ของร่างกายได้ อาการปวดอาจมีจากน้อยไปหามากซึ่งมักทำให้เกิดความรำคาญในการใช้ชีวิตประจำวัน

2 อาการทางระบบประสาทที่ถูกกดทับ เช่น อาการชาบริเวณแขนและมือ รวมถึงอาการอ่อนแรง หากมีการกดทับเส้นประสาทนานจนเกินไป

พฤติกรรมนักบัญชีที่เสี่ยงต่อการเกิดออฟฟิศซินโดรม

พฤติกรรมนักบัญชีที่เสี่ยงต่อการเกิดออฟฟิศซินโดรม

นักบัญชีเป็นอาชีพที่ต้องนั่งทำงานอยู่กับกองเอกสารโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นหลัก มักจะทำงานนานๆโดยไม่เปลี่ยนอิริยาบถ พฤติกรรมของนักบัญชีดังต่อไปนี้จึงมีความเสี่ยงต่อการเกิดออฟฟิศซินโดรม 

1. การนั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์นานเกินไปโดยไม่เปลี่ยนอิริยาบถหรือขยับตัว รวมถึงการใช้สมาร์ทโฟนโดยไม่ได้พักสายตา 

2. การนั่งทำงานโดยตั้งจอคอมพิวเตอร์สูงหรือต่ำกว่าระดับสายตาหรือตำแหน่งของโต๊ะทำงานและเก้าอี้ มีระดับที่ไม่พอดีกับสรีระ

3. การกดแป้นคลิกเม้าส์ อย่างต่อเนื่อง

4. การนั่งไขว่ห้าง นั่งหลังค่อมหรือนั่งห่อไหล่

5. ความเครียดหรือการเร่งรีบจากการทำงาน การพักผ่อนไม่เพียงพอ การรับประทานอาหารไม่ตรงเวลา

การรับประทานชา กาแฟ เป็นประจำ 

วิธีป้องกันการเกิดออฟฟิศซินโดรมของนักบัญชี

เพื่อป้องกันการเกิดออฟฟิศซินโดรม นักบัญชีสามารถทำได้ดังนี้

1 ปรับเปลี่ยนอิริยาบถให้เหมาะสม

2 ไม่ทำงานในท่าทางอิริยาบถนานเกิน 50 นาที ถ้าต้องทำต่อเนื่องควรหยุดพักประมาณ 10-15 นาที

3 เปลี่ยนอุปกรณ์ที่จำเป็นเพื่อลดการบาดเจ็บในระหว่างปฏิบัติงาน

4 เตรียมร่างกายให้พร้อม เช่นการออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื่อบริเวณที่ใช้งานหนัก การยืดกล้ามเนื้อก่อน ระหว่าง และหลังจากการทำงานในแต่ละวัน

การรักษาออฟฟิศซินโดรม

ถ้านักบัญชีเกิดอาการออฟฟิศซินโดรมแบบเรื้อรังที่ทำให้เป็นอุปสรรคในการทำงาน มีทางเลือกในการรักษาออฟฟิศซินโดรมดังนี้คือ

1 การกระตุ้นด้วยคลื่นแม่เหล็ก (Peripheral Magnetic Stimulation หรือ PMS) เป็นเทคโนโลยีที่ใช้รักษาอาการปวด โดยใช้พลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เพื่อลดอาการปวดและอาการชา

2 การรักษาด้วยคลื่นกระแทก (Shock Wave Therapy) เพื่อกระตุ้นให้กล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อมีการซ่อมแซม ในบริเวณที่มีการบาดเจ็บ

3 การรักษาเพื่อลดการอักเสบของกล้ามเนื้อ เอ็นกล้ามเนื้อ และเส้นประสาท โดยการใช้ High Laser Therapy

4 การยืดกล้ามเนื้อ โดยนักกายภาพบำบัดซึ่งมีประโยชน์ทั้งการรักษาและป้องกันการบาดเจ็บซ้ำได้

5 การฝังเข็ม โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู

6 การรับประทานยา

เมื่อนักบัญชีเกิดอาการออฟฟิศซินโดรม ควรหาทางป้องกันหรือปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการรักษาเพื่อมิให้เป็นอุปสรรคในการทำงานและการใช้ชีวิตประจำวัน การเลือกใช้โปรแกรมบัญชีที่ดี จะช่วยลดงานของนักบัญชีที่ซ้ำซ้อน ช่วยให้นักบัญชีทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

PEAKโปรแกรมบัญชีออนไลน์ ตอบโจทย์นักบัญชี ช่วยจัดการงานบัญชีและภาษีให้สะดวกรวดเร็วและมีความถูกต้อง ทำให้นักบัญชีได้มีเวลาดูแลสุขภาพ

ติดตามความรู้จากโปรแกรมบัญชี PEAK ได้ที่ peakaccount.com

หรือเข้าใช้งานโปรแกรมคลิก เข้าสู่ระบบ PEAK

อ้างอิง
อาการแบบไหนเข้าข่ายออฟฟิศซินโดรม, โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาการุณย์, 29 มิถุนายน 2561
7 พฤติกรรมเสี่ยง ออฟฟิศซินโดรม, Pat Rangsit Hospital, 9 กรกฎาคม 2563
นักบัญชีกับโรคยอดฮืต “ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome),สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์,  7 สิงหาคม 2563”